ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง ซึ่งรวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิต เป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ีใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย
1.1 ยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน แอลเอสดี (LSD) แอมเฟตามีน (Amphetamine) หรือยาบ้า ยาอี (Ecstasy) หรือยาเลิฟ
1.2 ยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ในกรณีที่มีไว้จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองต้องได้รับอนุญาต เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน และเมทาโดน
1.3 ยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นเป็นส่วนผสมของยา โดยมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เว้นแต่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบการโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง สาขาทันตกรรม จำหน่ายให้แก่คนไข้ของตน หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง จำหน่ายใช้กับสัตว์ที่ตนบำบัดหรือป้องกันโรค การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสียที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน (morphine) เพทิดีน(Pethidine) ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
1.4 ยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น Acetic Anhydride ใช้ในการลักลอบผลิตเฮโรอีน , Anthranilic acid และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
1.5 ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
ล่าสุดได้มีการปรับเปลี่ยนพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 และ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ดังนี้
แต่อย่างไรก็ตามหากมีไว้เพื่อเสพ หรือ มีการผลิต นำเข้า ส่งออก ซื้อขาย โดยที่มิได้รับใบอนุญาต ยังถือว่าผิดกฎหมาย อีกทั้งกัญชา และกระท่อม ยังคงเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทซึ่งทำให้เกิดอาการเสพติด อาการถอน และผลข้างเคียงอื่นๆ ต่อร่างกายและสมอง ดังนั้นหากผู้ใช้ไม่ได้ใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรืองานวิจัยที่มีการรองรับ สารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทเหล่านี้ยังคงมีผลเสียมากกว่าประโยชน์ที่ได้
2.1 ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
2.2 ยาเสพติดสังเคราะห์ เป็นสารที่ผลิตขึ้นในห้องปฏิบัติการด้วยกรรมวิธีทางเคมี นำมาใช้แทนยาเสพติดธรรมชาติได้ โดยสารที่สังเคราะห์ขึ้นมานั้นออกฤทธิ์เหมือนยาเสพติธรรมชาติ เช่น เมทีครีน ไฟเซปโตน เมทาโดน เป็นต้น
3.1 ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท
3.2 ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน
3.3 ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
3.4 ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา ยาเสพติดให้โทษ นอกจากจะเกิดผลโทษแก่ผู้เสพทางด้านสุขภาพ จิตใจ ครอบครัว และสังคมแล้ว แน่นอนว่าสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือด้านกฎหมาย เมื่อท่านเผลอเข้าไปข้องเกี่ยวกับมันแล้ว โทษแรกคือต้องได้รับโทษขั้นสูงสุด ตามวัตถุเสพติดให้โทษประเภทต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนด
1. โทษของยาเสพติดทางด้านกฎหมายผู้เสพยาเสพติด
ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 คือ จำคุก 6 เดือน - 3 ปี หรือปรับ 10,000-60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประเภทที่ 3 จำนวนไม่เกินกฎกระทรวงกำหนด จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจำนวนเกินกฎกระทรวงกำหนด จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
ประเภทที่ 4 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 10 กก.ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย
ประเภทที่ 5 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. โทษของยาเสพติดทางด้านสุขภาพ โดยสารเสพติดประเภทต่าง ๆ จะทำให้ร่างกายของผู้เสพเสื่อมโทรม สมองถูกทำลาย ทำให้เกิดความเฉื่อยชา ถึงกับกินอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ และภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น ถุงลมโป่งพอง จากบุหรี่ ตับแข็ง จากการติดเหล้า และการไม่มีภูมิในการต่อต้านเชื้อโรค ต่าง ๆ
3. โทษของยาเสพติดทางด้านจิตใจ เมื่อผลทางด้านสุขภาพไม่ดี ทำให้มีผลต่อจิตใจ อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย วิตกกังวลต่าง ๆ คลุ้มคลั่ง อาละวาด หรือบางทีเกิดอาการหวาดกลัวผู้คนรอบตัว
4. โทษของยาเสพติดทางด้านครอบครัว สูญเสียเงินทอง ไม่มีงาน ขาดรายได้ เพราะต้องใช้เงินมาซื้อสิ่งเสพติด ซื้อเหล้า เป็นที่มาของการสร้างปัญหาให้ครอบครัวแตกแยก สูญเสียชื่อเสียง
5. โทษของยาเสพติดทางด้านสังคม ขาดเพื่อน สังคมไม่ยอมรับ และไม่มีใครกล้าเข้าใกล้ ทำให้นานวันเริ่มต้องอยู่คนเดียว และเป็นปัญหาก่อให้เกิดอาชกรรมในสังคมได้ง่าย
แน่นอนว่าโทษต่าง ๆ นี้ย่อมเกิดผลเสียอันร้ายแรงกระทบครอบครัวรอบด้าน ดังนั้นหากคุณ หรือคนในครอบครัวเป็นผู้ที่หลงผิดแล้วและอยากเลิกยาเสพติดหรือครอบครัวที่กำลังหาทางบำบัดยาเสพติด ปรึกษา DAY ONE REHABILITATION CENTER ศูนย์บำบัดยาเสพติด บรรยากาศรีสอร์ทและสถานที่โอบล้อมด้วยสายน้ำและธรรมชาติ สงบและผ่อนคลาย จังหวัดนครนายก สถานฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาจากสารเสพติด ที่กำลังหาวิธีเลิกยาเสพติด วิธีเลิกเหล้า ไปจนถึง วิธีเลิกพนัน โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จิตแพทย์ พยาบาลจิตวิทยา นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านปัญหาสารเสพติด พร้อมให้คำแนะนำและปรึกษา
ติดต่อเรา
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00