064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด

IMG-BLOG
29 March 2022

ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด


ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ

 

การรับมือกับการกลับไปเสพยาเสติดอีกครั้ง หลังจากผ่านการบำบัดยาเสพติดรักษามาแล้วนั้น เป็นความท้าทายทั้งต่อตัวผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดและครอบครัวคนรอบข้าง อย่างไรก็ตาม แทนที่จะมองว่าการกลับไปเสพยาเสพติดเป็นความล้มเหลว ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีเท่าไรนัก แต่ก็ไม่ใช่จุดจบของการเลิกยา เราควรเรียนรู้และทำความเข้าใจว่า เพราะเหตุใด ปัจจัยด้านใดหรือสิ่งใด ที่มีส่วนเกี่ยวข้องของกับการหวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเกิดขึ้นซ้ำและผลักดัน สร้างกำลังใจให้กับผู้เสพยาเสพติดกลับเข้ารับการบำบัดยาเสพติดและเลิกยาเสพติดได้อย่างยั่งยืน

 

สัญญาณที่กำลังบอกว่ามีการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำอีก ได้แก่


• การแยกตัวจากครอบครัวและเพื่อน

• การไม่ไปตรวจติดตาม/นัดกับนักจิตบำบัดที่เคยรักษา

• การเก็บตัว กิจวัตรประจำวันบกพร่อง เช่น ไม่อาบน้ำ ไม่สนใจดูแลตนเอง

• รับประทานอาหารได้น้อยรวมไปถึงมีปัญหาด้านการนอนหลับ

 

อะไรคือปัจจัยกระตุ้นในการกลับไปใช้ยาเสพติดอีกครั้ง


การกลับไปเสพยาซ้ำเกิดจากการมีความคิดที่จะล้มเลิกความตั้งใจหยุดยา อีกทั้งมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการกลับไปใช้ยาอีกครั้ง แต่ปัจจัยที่พบส่วนมาก ได้แก่

• ความอยากรู้อยากทดลอง

• ความเครียด ปัญหาชีวิตที่เข้ามา

• ความรู้สึกด้านลบและระดับของอารมณ์ เช่น ความเหงา รู้สึกตนเองถูกทอดทิ้ง โดด เดี่ยว เป็นต้น

• ความคิดความเชื่อที่ไม่เหาะสม เช่น “คิดว่าเสพนิดเดียวไม่เป็นไร” “เสพแล้วลืมความ ทุกข์” “ใช้แล้วสนุก มั่นใจ กล้าแสดงออกมากขึ้น” เป็นต้น

• การอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิมที่มีการใช้ยาเสพติด หรือสถานที่เก่าๆที่เกี่ยวข้องกับการเสพ ยา

• งานเลี้ยงและการสังสรรค์ เทศกาลต่างๆ

 

แนวทางการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ


1. ปรับเปลี่ยนความคิดความเชื่อที่ไม่ถูกต้องให้เป็นความคิดที่ถูกต้อง เช่น เลิกยานั้นเลิกง่ายนิดเดียวมันอยู่ที่ใจ เปลี่ยนเป็น “อยู่ที่ใจก็จริง แต่ใจเราต้องเข็มแข็ง ตั้งใจเลิกอย่างจริงจัง”

2. ใช้เพราะอยากทดลอง เปลี่ยนเป็น “อยากทดลอง แต่อันตรายจะตามมาแน่” การหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้น เช่น ผู้ค้า หรือสถานที่ที่เคยใช้สารเสพติด การไม่คบกับผู้ท ใช้สารเสพติด ควรเปลี่ยนเพื่อนกลุ่มใหม่เพื่อลดการถูกชักชวน

3. การจัดการกับอารมณ์ เช่น หากมีอารมเศร้า ให้คุยหรือระบายเล่าให้คนที่ไว้ใจฟัง หรือ เมื่อ มีอารมณ์เครียด/หงุดหงิด ให้ค้นหาสาเหตุและแก้ปัญหาให้ตรงจุด

4. รู้จักทักษะการปฏิเสธ เช่น เดินหลีกเลี่ยงเมื่อได้ยินคำชวน , ชักชวนให้ทำกิจกรรมอื่นๆ , ใช้ความรู้สึกมาเป็นข้ออ้าง เช่น “ผมร้สึกไม่สบายใจจริงๆถ้าต้องทำให้ครอบครัวเป็นห่วง” เป็นต้น

5. การฝึกสติ สมาธิ เตือนตัวเองอยู่เสมอว่าตนเองสามารถทำได้

 

อะไรคือสิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อคนที่เรารักเรากลับไปเสพยาเสพติดอีก


การกลับไปเสพยาซ้ำเป็นพฤติกรรมที่ทำร้ายจิตใจคนในครอบครัวเป็นอย่างมาก รวมถึงอารมณ์ความรุนแรง และปัญหาที่ตามมา อย่างไรก็ตามเราไม่ควรให้สิ่งเหล่านี้ขัดขวางการสนับสนุนและให้กำลังใจคนที่เรารักในการเลิกยาอีกครั้ง

 

สิ่งที่ไม่ควรทำหากพบว่าคนที่เรารักกลับไปเสพยาเสพติดอีกครั้ง ได้แก่


• อย่าสิ้นหวัง การกลับไปเสพยาซ้ำเป็นส่วนหนึ่งขอเส้นทางของการเลิกยาเสพติด และมี หลายๆคนสามารถทำสำเร็จมาแล้ว

• อย่ากล่าวว่า ตำหน ด่าทอ หรือนำเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วมาตำหนิซ้ำ หรือกล่าวโทษให้เขารู้สึกผิด ซึ่งนั่นไม่ทำให้ผู้เสพยากลับมาเลิกยาได้

• หนักแน่นและรีบพากลับมาเข้าสู่กระบวนการการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ปล่อยจนอาการ หนักจึงค่อยพามาเพราะจะรักษาได้ยากกว่า

 

เมื่อเรารู้ว่าคนที่เรารักหรือคนรอบข้างกลับไปเสพยาเสพติดอีกครั้ง ความรู้สึกเป็นห่วงที่อยากจะพาเข้ารับการรักษาหรือบำบัดยาเสพติดคงเกิดขึ้นในทุกครอบครัวอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม การเลิกสารเสพติดให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพจะต้องมาจากความต้องการของผู้เสพติดเอง สิ่งที่ครอบครัวทำได้คือการรับฟัง ละให้กำลังใจเมื่อผู้เสพยาเสพติดกำลังทำสิ่งที่ดีต่อตนเอง เราสามารถสนับสนุนให้เขาดูแลตัวเอง เช่น ชักชวนทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ การออกกำลังกาย การออกไปเปิดหูเปิดตานอกบ้าน สร้างไลฟ์สไตล์ที่ห่างไกลจากยาเสพติด อีกสิ่งหนึ่งที่ครอบครัวสามารถทำได้นอกจากที่กล่าวมา ก็คือ การสนับสนุนให้ผู้เสพยาเสพติดเข้าพูดคุยรักษาบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญหรือสถานบำบัดยาเสพติดที่ให้การสนับสนุนในการเลิกยาเสพติด

 

การเริ่มต้นขีวิตใหม่ที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One Rehabilitation Center

ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One Rehabilitation Center ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดจะได้รับการดูแลอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญ ทีมงานนักจิตวิทยา ที่มีประสบการณ์ผ่านการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางอย่างมากมายอีกทั้งสถานที่รายล้อมไปด้วยสายน้ำและธรรมชาติ สงบและผ่อนคลาย ตั้งอยู่ในจังหวัดนครนายก รวมถึงหลักสูตรการบำบัดจะออกแบบให้เหมาะสมแก่ผู้บำบัดแต่ละราย จะช่วยฟื้นฟูทั้งทางร่ากาย จิตใจ และสังคมให้ผู้ติดสารเสพติดมีทักษะและรับมือในการจัดการกับปัจจัยกระตุ้นและดำเนินชีวิตหลังเลิกยาเสพติดได้อย่างมีความสุข

 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
05 January 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
11 September 2023
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
15 August 2023
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
21 June 2023
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
21 June 2023
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
21 June 2023
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
21 June 2023
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
23 January 2023
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
13 December 2022
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
21 November 2022
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
21 June 2022
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
21 June 2022
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
10 June 2022
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
28 April 2022
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
11 August 2022
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
29 March 2022
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
06 March 2022
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
06 March 2022
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
28 February 2022
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
28 February 2022
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
07 February 2022
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
07 February 2022
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
06 January 2022
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
28 February 2022
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
23 May 2022
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
23 February 2022
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
23 February 2022
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
23 February 2022
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
23 February 2022
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
23 February 2022
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
23 February 2022
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
23 May 2022
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
23 February 2022
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
23 February 2022