064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้

IMG-BLOG
23 February 2022

ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้

 

ข้อควรระมัดระวังทางกฎหมายที่ควรคำนึงถึง หากมีการนำกระท่อมไปใช้ผสมกับสิ่งเสพติดชนิดอื่น


พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้

แต่อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำชับให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) เร่งสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทราบถึงข้อกฎหมายว่า ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ประชาชนสามารถปลูกและบริโภคกระท่อมตามวิถีชาวบ้าน รวมทั้งยังซื้อหรือขายใบกระท่อมโดยไม่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม หากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4×100 เป็นความผิดตามกฎหมาย สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกไปต่างประเทศในเชิงอุตสาหกรรมนั้นต้องขออนุญาตก่อน ควบคู่ไปกับการบำบัดโดยนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการรักษาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันต้องรณรงค์สร้างการรับรู้และภูมิคุ้มกันในกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย
 

กระท่อมมีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง?


มีการใช้ใบกระท่อมตามท้องถิ่นทั้งในประเทศไทย และประเทศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว เมียนมาร์​ มาเลเซีย มายาวนาน โดยการนำใบกระท่อมสดมาเคี้ยว ซึ่งจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสดชื่น มีแรง ตื่นตัว ลดอาการอ่อนเพลีย คล้ายกับการดื่มกาแฟ อีกรูปแบบหนึ่งคือการนำใบกระท่อมมาต้ม และดื่มน้ำต้มกระท่อม หรือที่ชาวบ้านตามท้องถิ่นเรียกว่า "น้ำท่อม" มักนำมาดื่มเพื่อลดอาการปวดเมื่อยร่างกาย และ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายเคลิบเคลิ้ม​

โทษหรือผลข้างเคียงจากการเสพใบกระท่อมมากเกินไป

  • • ความอยากอาหารลดลง หรือน้ำหนักลด
  • • ท้องผูก
  • • ปัสสาวะบ่อย
  • • ปากแห้ง
  • • วิตกกังวล และกระวนกระวายใจ
  • • เหงื่อออก และคัน
  • • แพ้แดด หรือผิวหนังมีสีเข้มกว่าเม็ดสีปกติ
  • • อาการคลื่นไส้ และอาเจียน
  • • นอนไม่หลับ หรือร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา
  • • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • • รู้สึกกระวนกระวาย สับสน
  • • เห็นภาพหลอน

 

รูปแบบของการนำใบกระท่อมมาเสพ


ฤทธิ์ของกระท่อมจะเป็นสารกระตุ้นประสาท ทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข และลดอาการปวด เนื่องจากกระท่อมออกฤทธิ์คล้ายสารอนุพันธ์ฝิ่น รูปแบบที่ถูกนำมาใช้มีหลายรูปแบบ เช่น นำใบสดมาเคี้ยวเพื่อกระตุ้นให้รู้สึกตื่นตัวคล้ายกับการดื่มกาแฟ และลดอาการปวดเมื่อย หรือนำใบมาตากแห้งแล้วต้มดื่มลักษณะเหมือนใบชา หรือ นำมาสกัดบดเป็นผงใส่แคปซูลเป็นรูปแบบยาสมุนไพร

 

สารประกอบในใบกระท่อม ผลกระทบต่อร่างกายและสมอง


สารประกอบหลักที่พบในใบกระท่อม คือ ไมทราไจนีน (mitragynine), 7-hydroxymitragynine (7-OH- mitragynine) ซึ่งสารไมทราไจนีน จะไปออกฤทธิ์ต่อสมองคล้ายกับสารอนุพันธ์ฝิ่น แต่เนื่องจากกระท่อมเป็นพืชที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทจึงทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข ลดอาการปวด แต่ก็ทำให้เกิดการเสพติดได้เช่นกัน ซึ่งหมายความว่าเมื่อหยุดเสพจะทำให้เกิดอาการถอน (Withdrawal symptom) เช่น ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อปวดกระดูก รู้สึกง่วงซึม อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อารมณ์ซึมเศร้า จากการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยที่ใช้กระท่อมแล้วทำให้เกิด ไตวายเฉียบพลัน ตับอักเสบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ กดการหายใจ ระบบการหายใจ โดยภาวะตับอักเสบจากสารประกอบในกระท่อม เป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุด

 

การนำกระท่อมมาใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย
 

นอกจากนี้ในประเทศไทยยังมีการแพร่ระบาดของการนำไปเสพในทางที่ผิด อาจเนื่องมาจากใบกระท่อมหาได้ง่าย มีราคาถูกและทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุขได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่น โดยมักนิยมนำน้ำกระท่อมต้ม ผสมกับน้ำอัดลม ยาแก้ปวด Tramadol ยากันยุง และยาแก้ไอ ซึ่งผู้เสพจะเรียกการนำน้ำกระท่อมมาผสมสารเสพติดชนิดอื่นๆนี้ว่า 4×100 (สี่คูณร้อย) การนำสารเสพติดหลายชนิดมาผสมกันจะทำให้เกิดการเสพติดและอาการถอนที่มากขึ้น อันตรายต่อร่างกายและสมองจึงรุนแรงขึ้นตามมา ยกตัวอย่างเช่น ยาแก้ปวด Tramadol สามารถทำให้ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้

โดยสรุปการจะนำกระท่อมมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น คุณสมบัติลดอาการปวด ยังต้องการวิจัยที่น่าเชื่อถือเพิ่มเติม เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการวิจัยที่ระบุได้ว่าปริมาณความเข้มข้นของสารที่สกัดได้จากใบกระท่อมควรจะมีปริมาณเท่าไหร่ที่จะไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย อีกทั้งสารจากใบกระท่อมยังทำให้เกิดการเสพติดและเป็นพิษต่อร่างกายได้อีกด้วย รวมทั้งใบกระท่อมยังไม่มีข้อบ่งชี้หรือสรรพคุณในการรักษาโรคอื่น ๆ อีกด้วย

อย่างไรก็ตามเมื่อคุณหรือคนใกล้ชิดเสพกระท่อมที่เกินกว่าการนำมาใช้เพื่อรักษาทางการแพทย์แล้ว ย่อมทำให้เกิดการเสพติดจนมีผลให้เกิดโทษต่อตัวเองและคนรอบข้าง ดังนั้นจึงควรได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อให้สามารถเลิกเสพติดกระท่อมได้ DAY ONE REHABILITATION CENTER ศูนย์บำบัดยาเสพติด จะช่วยให้คำแนะนำและบำบัดรักษาผู้ที่ติดสารเสพติด ดูแลตลอดการเข้าบำบัด โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาจัดกิจกรรมการบำบัดแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อสร้างสมดุลใหม่ในชีวิต ให้คุณได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างมั่นใจและมีความสุข

ที่มา: Kratom—Pharmacology, Clinical Implications, and Outlook: A Comprehensive Review Steven C. Eastlack . Elyse M. Cornett . Alan D. Kaye

 

ติดต่อเรา

99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000

064-645-5091

[email protected]

จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
05 January 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
11 September 2023
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
15 August 2023
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
21 June 2023
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
21 June 2023
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
21 June 2023
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
21 June 2023
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
23 January 2023
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
13 December 2022
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
21 November 2022
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
21 June 2022
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
21 June 2022
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
10 June 2022
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
28 April 2022
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
11 August 2022
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
29 March 2022
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
06 March 2022
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
06 March 2022
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
28 February 2022
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
28 February 2022
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
07 February 2022
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
07 February 2022
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
06 January 2022
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
28 February 2022
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
23 May 2022
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
23 February 2022
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
23 February 2022
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
23 February 2022
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
23 February 2022
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
23 February 2022
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
23 February 2022
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
23 May 2022
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
23 February 2022
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
23 February 2022