064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด

IMG-BLOG
06 March 2022

เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด


การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย


เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงตนเองหลังออกจากสถานบำบัดยาเสพติด ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยหลักคือ “ตัวผู้เสพ”และ “สภาพแวดล้อมหรือสังคม” สังคมเองควรที่จะมองผู้ป่วยติดยาเสพติดในมุมมองใหม่ โดยการปรับเปลี่ยนทัศนคติจากเดิมที่เคยมองว่าผู้ป่วยติดยาเสพติดเป็นผู้ร้ายเปลี่ยนเป็นมองว่าพวกเขาเข้าสถานบำบัดยาเสพติดฟื้นฟูสมรรถภาพเรียบร้อยแล้ว พวกเขาสามารถกลับคืนสู่สังคมเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้

การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย แต่ในปัจจุบันคนในสังคมจำนวนมากที่ยังมองว่าผู้ป่วยติดยาเสพติดเป็นผู้ร้ายในสังคม เป็นบุคคลอันตราย อีกทั้งยังมีสื่อต่าง ๆ เสนอข่าวผู้ป่วยติดยาเสพติดที่มีอาการคลุ้มคลั่ง จับผู้อื่นเป็นตัวประกัน ขี้เกลียด ทำร้ายผู้อื่น ฯลฯ การที่สังคมมองว่าผู้ป่วยติดยาเสพติดเป็นผู้ร้ายนั้นยังส่งผลกระทบกับผู้ป่วยทั้งในด้านกำลังใจ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูผู้ส่วนใหญ่หมดกำลังใจ และเกิดรอยแผลมากขึ้น หรือถึงขั้นไม่กล้าที่จะกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ ดังนั้นการที่จะให้สังคมเกิดการยอมรับมากขึ้น ตัวผู้ป่วยหรือผู้เข้ารับการบำบัดเองต้องมีความตั้งใจและมั่นใจพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ได้

ไม่ใช่เรื่องง่ายจริง ๆ ที่จะเลิกเสพหรือเลิกใช้แฮลกอฮอล์ เพราะการติดยาเสพติดหรือการติดแฮลกอฮอล์ มีความเกี่ยวข้องกับร่างกาย ถึงแม้ว่าผู้เสพอยากเลิกแค่ไหนก็ตาม แต่หากร่างกายยังไม่สามารถหยุดเสพยาดังกล่าวได้ มีโอกาสน้อยที่จะเลิกเสพยาสำเร็จ ผู้ติดยาหลายคนเชื่อว่า พวกเขาสามารถเลิกยาได้ด้วยตนเองแต่น้อยคนนักที่จะทำได้จริง ๆ ดังนั้นคุณควรมองหาใครสักคนที่คุณไว้ใจ อาจเป็นเพื่อนสนิท คนรัก คนในครอบครัว จิตแพทย์ หรือศูนย์บำบัด สถานบำบัดต่าง ๆ เช่น ศูนย์บำบัดยาเสพติด DAY ONE REHAD CANTER เพื่อเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู และเตรียมความพร้อมก่อนออกไปอยู่ในสังคมของตัวเองต่อไป

 

เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อลดอุปสรรค หลังจากเราตัดสินใจที่จะเลิกและเข้ารับการบำบัดแล้ว หลังออกมาจากศูนย์บำบัดสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปประยุกใช้ในการดำเนินชีวิต


1. ควรระลึกไว้อยู่เสมอว่า “การติดยาไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนไม่ดี”
หากคุณกำลังนั่งคิดถึงวันที่ตกเป็นทาสของยาเสพติดจนทำให้คุณรู้สึกแย่ แนะนำให้รีบพูดคุย หรือปรึกษาใครสักคน เพื่อระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่มีอะไรน่าอาย

การบอกให้คนอื่นรู้ถึงความรู้สึกจะช่วยให้คุณยืนหยัดกับความพยายาม และท้ายสุดคุณก็จะสามารถเลิกยาเสพติดได้อย่างถาวร นอกจากนี้ คนรอบตัวอาจเข้าใจในตัวคุณมากขึ้นด้วยว่า คุณรู้สึกอย่างไร แล้วมีปัญหาอะไรที่ทำให้คุณต้องหันไปพึ่งการเสพยา

2. ค้นหาและตั้งเป้าหมายของชีวิต
ค้นหาและตั้งเป้าหมายของชีวิตในทางที่ดี
เช่น อยากมีอาชีพอะไร อยากประสบความสำเร็จด้านใด แล้วเริ่มเดินตามเส้นทางนั้นอย่างมุ่งมั่น

3. บอกเพื่อน ว่าคุณกำลังพยายามเลิกเสพยา
ซึ่งเพื่อนที่หวังดีกับคุณจริง ๆ จะเข้าใจ และเห็นด้วยกับสิ่งที่คุณทำ รวมทั้งจะสนับสนุนให้คุณเลิกยาเสพติดให้ได้ แต่นั่นก็หมายความว่า คุณจะต้องเลิกคบ/ปฏิเสธกลุ่มเพื่อนที่เสพยา หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมเดิม ๆ

หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้เริ่มจากลองใช้คำว่า “คิดดูก่อน” แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นพูด “ไม่” ให้เร็วที่สุด เป็นการป้องกันการถูกชักชวนอีก เนื่องจากการคะยั้นคะยอของผู้ชวนอาจทำให้คุณเริ่มหาข้ออ้างให้กับตัวเองเพื่อทำตามการชักชวน และเข้ากลุ่มเพื่อนใหม่ที่สนับสนุนช่วยเหลือ และเห็นอกเห็นใจคุณอย่างแท้จริง

การปฏิเสธและหาทางออกโดยเลือกวิธีต่อไปนี้
• ปฏิเสธซ้ำโดยไม่พูดข้ออ้าง พร้อมบอกลา และหาทางเลี่ยงออกจากเหตุการณ์
• ใช้การต่อรอง อาจทำโดยการชวนให้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ดีแทน
• ขอผัดผ่อนก่อน เป็นการยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้ผู้ชวนเปลี่ยนความตั้งใจ

4. หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการเสพยา
ไม่นำพาตัวเองไปในพื้นที่เสี่ยง การนัดดื่มสังสรรค์ หรือการจัดงานปาร์ตี้ช่วงกลางคืนมักเป็นสถานการณ์ที่มีการเสพยาเกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น หากคุณอยู่ระหว่างการเลิกยาเสพติด ให้หลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้

เนื่องจากมันเสี่ยงที่คุณจะถูกชักชวน หรืออาจถูกบังคับให้เสพยาอีกครั้ง หากจำเป็นต้องไปร่วมงานจริง ๆ ให้แจ้งพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิดให้รับทราบไว้ หากเมื่อคุณต้องการความช่วยเหลือจะได้มีคนพาคุณออกไปจากสถานการณ์ดังกล่าวทันที

5. รู้จักยับยั้งชั่งใจ
รู้จักการคิด วิเคราะห์ ยับยั้งชั่งใจ ระมัดระวัง ไม่หลงเชื่อคำโฆษณา หรือคำแนะนำใด ๆ ที่ชักชวนให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรืออบายมุขต่าง ๆ ฝึกแก้ปัญหา มีสติ ไม่ตื่นตระหนก ฝึกจัดการกับอารมณ์

6. มีทัศนคติที่ดี
มีทัศนคติที่ดี มองโลกในด้านบวก กำจัดความคิดด้านลบ ที่มาบั่นทอนความพยายาม และความมุ่งมั่นในใจของเรา

7. การใช้เวลาว่างให้ประโยชน์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด
หากิจกรรมที่เราสนใจ มีความชอบ หรือมีความถนัด แล้วลงมือทำ ไม่ปล่อยเวลาว่างให้เปล่าประโยชน์ ที่สำคัญต้องเป็นกิจกรรมที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรืออบายมุขต่าง ๆ

หากคุณมีความคิดที่จะกลับไปใช้สารเสพติดอีกครั้ง แนะนำให้ทบทวนตรึกตรองให้ดีว่า "ทำไมคุณถึงต้องกลับไปใช้ยาอีกครั้ง" ให้ตระหนักถึงช่วงเวลาที่คุณเลิกยาว่า "มันยากเย็นและทรมานเพียงใด" และยังสามารถนำเทคนิค หรือสิ่งที่คุณได้เรียนรู้ ฝึกฝนจากสถานบำบัด มาปรับประยุกต์ร่วมกันได้ และอย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง

ทาง Day one rehab center ศูนย์บำบัดยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด เป็นสถานบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาจาก แอลกอฮอล์ สารเสพติด และการพนัน มองว่าทุกคนมีคุณค่าและความสามารถในตนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีการแทรกกิจกรรมบำบัดต่าง ๆ รวมถึงการปรับความคิดและพฤติกรรม หรือการใช้ชีวิตปรับตัวเข้าสังคมหลังจากการฟื้นฟู


ที่มา : https://hd.co.th/dealing-with-addiction-drugs

: คู่มือ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบควบคุมตัว (กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด)
 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
05 January 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
11 September 2023
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
15 August 2023
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
21 June 2023
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
21 June 2023
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
21 June 2023
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
21 June 2023
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
23 January 2023
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
13 December 2022
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
21 November 2022
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
21 June 2022
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
21 June 2022
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
10 June 2022
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
28 April 2022
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
11 August 2022
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
29 March 2022
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
06 March 2022
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
06 March 2022
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
28 February 2022
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
28 February 2022
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
07 February 2022
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
07 February 2022
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
06 January 2022
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
28 February 2022
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
23 May 2022
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
23 February 2022
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
23 February 2022
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
23 February 2022
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
23 February 2022
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
23 February 2022
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
23 February 2022
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
23 May 2022
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
23 February 2022
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
23 February 2022