064-645-5091 จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00
โรคกลัวสังคม หรือที่เรียกว่า social anxiety disorder หรือ social phobia คือ โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง แต่อาการวิตกกังวลจะเกิดขึ้นกับสถานการณ์ที่ต้องเข้าสังคม โดยผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมมักจะรู้สึกประหม่า ตื่นเต้น กลัวสายตาผู้อื่นที่จับจ้องมาที่ตัวเอง กลัวขายหน้า
สถานการณ์ที่มักกระตุ้นทำให้เกิดความกลัว เช่น การพูดคุยกับคนที่ไม่คุ้นเคย การทำความรู้จักกับคนแปลกหน้า การพูดในที่สาธารณะ การนำเสนองานหน้าชั้นเรียนหรือในที่ประชุม เป็นต้น
ความกลัวหรือความตื่นเต้นนี้มักจะทำให้เกิดอาการทางร่างกายตามมา เช่น ใจสั่น มือสั่น เสียงสั่น เหงื่อออก โดยความกลัวนี้มักจะมากกว่าคนทั่วไป ทำให้ไม่สามารถเผชิญสถานการณ์เหล่านี้ได้
แต่ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคกลัวสังคม จะมีอาการทุกครั้งที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย สถานการณ์ที่มีคนจ้องมองเยอะ หรือสถานการณ์ที่ต้องทำบางอย่างในที่สาธารณะ ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ที่ป่วยด้วยโรคกลัวสังคม ยังมีอาการประหม่าเมื่อต้องสนทนากับคนที่ไม่คุ้นเคย แม้จะเป็นการสนทนาแบบสองต่อสอง มักมีความอึดอัด ไม่สบายใจ กังวลว่าคู่สนทนาจะสังเกตเห็นท่าทีที่ดูไม่ดีหรือน่าอับอายของตนเองตลอดเวลา และไม่สามารถก้าวข้ามผ่านไปได้ ผู้ป่วยจะพยายามเลี้ยงสถานการณ์นั้นๆ หรือหากเลี่ยงไม่ได้ก็จะทุกข์ทรมานมาก โดยระยะเวลาของอาการป่วยมักเป็นต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป
หลักการคือดูความรุนแรงของความกลัวว่ากระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน หรือการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นหรือไม่ หากเป็นความตื่นเต้นทั่วๆไป จากความไม่คุ้นเคยในสถานการณ์นั้นๆ เมื่อได้รับการฝึกฝน ทำซ้ำๆจนเคยชินความกลัวก็มักจะหายไป เช่น หากต้องไปนำเสนอในที่ประชุมในครั้งแรกอาจไม่มั่นใจ เสียงสั่น ใจสั่นได้ แต่หากต้องไปนำเสนอซ้ำๆ ฝึกซ้อมพูดซ้ำๆ ความกลัวก็มักจะหายไป
แต่หากเป็นโรคกลัวสังคม ทุกครั้งที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย สถานการณ์ที่มีคนจ้องมองเยอะ หรือสถานการณ์ที่ต้องทำบางอย่างในที่สาธารณะ สนทนากับคนที่ไม่คุ้นเคย แม้จะเป็นการสนทนาแบบสองต่อสอง มักมีความอึดอัด ไม่สบายใจ กังวลว่าคู่สนทนาจะสังเกตเห็นท่าทีที่ดูไม่ดีหรือน่าอับอายของตนเองตลอดเวลา และไม่สามารถก้าวข้ามผ่านไปได้ ผู้ป่วยมักจะพยายามเลี้ยงสถานการณ์นั้นๆ หรือหากเลี่ยงไม่ได้ก็จะกังวลอย่างมาก ทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน การเรียน หรือการดำเนินชีวิตด้านใดด้านหนึ่งตามมา โดยระยะเวลาของอาการป่วยมักเป็นต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป
ผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมมักเคยเจอเหตุการณ์ที่ถูกทำให้รู้สึกอับอายมาก่อนจนกลายเป็นความฝังใจ โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น เพราะเป็นตั้งแต่ช่วงวัยที่เริ่มให้ความสำคัญกับมุมมองของผู้อื่นต่อตนเอง และเริ่มต้องการการยอมรับจากสังคม เช่น ช่วงเด็กมัธยม ส่วนน้อยที่จะเริ่มต้นเป็นในช่วงวัยผู้ใหญ่ ส่วนในวัยเด็กอาจเจอได้แต่ไม่บ่อยเท่าในเด็กวัยรุ่น ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุเช่น เด็กบางคนอาจต้องไปพูดหน้าชั้นเรียน แล้วถูกเพื่อนหัวเราะเยาะ เพื่อนล้อ เพื่อนแกล้ง หรือเด็กบางคนอาจเคยถูกพ่อแม่ตำหนิอย่างรุนแรงต่อหน้าคนคนอื่น
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง แต่เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ ก็เกิดการติดสารเสพติดนั้นๆตามมา พฤติกรรมการใช้สารเสพติดเพื่อลดความกังวลตัวเองเราเรียกว่า Self-medication คือเป็นเหมือนการใช้สารเสพติดรักษาตัวเอง แต่การใช้สารเพื่อ self-medication เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้องเนื่องจาก เมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมไม่ได้ใช้สารเสพติดนั้นๆ ความกลัวสังคม ความวิตกกังวลจะยิ่งเป็นมากกว่าเดิม และยิ่งไปกว่านั้นคือจะทำให้เกิดโรคติดยาเสพติดตามมาด้วย
หากใครมีปัญหาที่เข้าข่ายโรคกลัวสังคม หรือเป็นโรคกลัวสังคมแล้วมีปัญหาติดสุราหรือยาเสพติดตามมา คุณควรปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อบำบัดยาเสพติด และรักษาด้วยยาที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดการเสพติดและฝึกพฤติกรรมบำบัดอย่างถูกวิธี ประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ชีวิตด้านต่างๆ จะได้ไม่ถูกจำกัดด้วย “โรคกลัวสังคม”
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
64-645-5091 [email protected]
จันทร์ – อาทิตย์ : 9.00 -17.00