โรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่จะเริ่มสังเกตได้ชัดตั้งแต่อายุประมาณ 7 ขวบ อย่างไรก็ตามเด็กบางคนอาจเป็นสมาธิสั้น แต่พ่อแม่ไม่ได้สังเกต หรือคิดว่าเด็กอาจจะซนหรือดื้อเฉยๆ หรือเด็กที่มี IQ สูง อาจอาศัยความฉลาดชดเชยอาการสมาธิสั้นได้ทำให้ดูไม่เป็นปัญหา และไม่ได้รับการรักษาโรคสมาธิสั้นจนโตเป็นผู้ใหญ่
อาการของโรคสมาธิสั้น (ADHD) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้
1. อาการขาดสมาธิ (Inattentiveness) เช่น
• ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน
• ไม่มีสมาธิในการรับฟัง
• ไม่ตั้งใจฟังได้ไม่นาน และเก็บรายละเอียดได้น้อย ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อย
• มักทำสิ่งของหายลืมของอยู่บ่อยๆ
• วอกแวกง่าย สนใจสิ่งเร้ารอบข้างง่าย
• ทำงานไม่เสร็จตามเวลา
• หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ
2. อาการควบคุมตนเองไม่ได้ (Hyperactivity-Impulsivity) เช่น
• ยุกยิก ขยับตัวไปมา อยู่นิ่งไม่ได้
• ซนมากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
• นั่งไม่ติดที่ ต้องลุกจากที่นั่งในห้องเรียนหรือในสถานการณ์อื่นที่เด็กจำเป็นต้องนั่งอยู่กับที่
• มักวิ่งไปมาหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ ในที่ๆ ไม่สมควรกระทำ
• พูดมากเกินไป
• ตอบคำถามก่อนฟังคำถามจบ
• รอคอยอะไรนานๆ ไม่ได้
• ทำอะไรโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง
ในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักจะเป็นอาการเหม่อลอย (inattentiveness) มากกว่า อาการซน ยุกยิก อยู่ไม่นิ่ง (hyperactive) จะไม่ชัดเจน ทำให้ระบุว่าเป็นโรคสมาธิสั้นได้ยากกว่าในเด็ก
จะสังเกตได้ว่า คนเป็นโรคสมาธิสั้น จะมีลักษณะดังนี้ ซึ่งเป็นความเสี่ยงทำให้ติดสารเสพติดเกือบทุกชนิดและติดการพนันได้ง่าย
• ชอบความตื่นเต้น
• รอคอยไม่ค่อยได้
• ควบคุมความต้องการของตัวเองได้ยาก
• ความอดทนน้อย
• ความคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้
ซึ่งลักษณะเหล่านี้เป็นมาจากสารโดปามีน (Dopamine) ในสมองส่วนหน้าที่ทำงานน้อย
ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด หรือติดการพนัน ควรได้รับการประเมินจากจิตแพทย์ด้วยว่ามีภาวะสมาธิสั้น (ADHD) ร่วมด้วยหรือไม่ โดยหากผู้ป่วยมีอาการสมาธิสั้นตั้งแต่ก่อนติดสารเสพติดแปลว่าผู้ป่วยอาจจะเป็นโรคสมาธิสั้นแฝงอยู่เดิม ผู้ป่วยควรได้รับยาสมาธิสั้นร่วมกับการบำบัดยาเสพติดไปด้วย ยาสมาธิสั้นจะไปช่วยกระตุ้นสารโดปามีน (Dopamine) ที่สมองส่วนหน้า จะช่วยเพิ่มสมาธิ เพิ่มความสามารถในการคิด การตัดสินใจ และความยับยั้งชั่งใจ
การกินยารักษาสมาธิสั้นร่วมด้วยจะทำให้โอกาสในการเลิกยาเสพติดสำเร็จมากกว่า เนื่องจากผู้ป่วยที่กินยาสมาธิสั้น จะช่วยให้การควบคุมตัวเอง การยับยั้งชั่งใจ การควบคุมอารมณ์ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยยับยั้งตัวเองไม่ให้ไปเสพยาได้ดีขึ้นด้วย
สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่พร้อมไปสถานบำบัดยากเสพติด หรือ ยังเสพติดไม่รุนแรง เช่น ไม่มีอาการทางจิต ไม่มีอารมณ์ที่ผิดปกติ และมีความตั้งใจที่จะเลิกสารเสพติด มีโอกาสรักษาหายได้ด้วยการไปพบจิตแพทย์ที่คลินิก
Day One สถานบำบัดยาเสพติด ขอแนะนำปีติ คลินิก ที่มีให้บริการปรึกษาจิตแพทย์ ทั้งจิตเวชทั่วไป รักษาภาวะติดยาเสพติด จิตเวชผู้สูงอายุ รวมถึงจิตเวชเด็กและวัยรุ่น รักษาสมาธิสั้น จากจิตแพทย์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญโดยตรง คลิกที่นี่
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091 [email protected]
จันทร์ – อาทิตย์ : 9.00 -17.00