064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด

IMG-BLOG
21 June 2023

ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด

ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One

การเสริมสร้างทักษะชีวิต เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นแก่ทุกคนไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทั้งทางร่างกายและจิตใจได้อย่างดี ทำให้เราสามารถพร้อมที่จะเผชิญปัญหาต่างๆได้ง่ายมากขึ้น เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างให้เกิดทักษะรับมือกับปัญหาต่างๆ สภาพแวดล้อมโดยรอบได้ เป็นต้น ก่อนอื่นเรามารู้จัก “ทักษะชีวิต” ไปพร้อมกัน คำว่า “ทักษะชีวิต” คือ ความรู้ ท่าที ทัศนคติ ซึ่งเป็นความสามารถของมนุษย์เพื่อจัดการกับปัญหาต่างๆ รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรียมความพร้อมสำหรับในอนาคตไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ สารเสพติด ชีวิตครอบครัว สุขภาพ สิ่งแวดล้ม ปัญหาสังคมต่างๆ ฯลฯ

 

องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้มีแบ่งทักษะชีวิตตามพฤติกรรมเรียนรู้ทั้งหมด 3 ด้าน

ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ - ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร ปัญหาต่างรอบตัว ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการคิดออกไปกว้างขวาง ไม่ยึดติดในกรอบ

ด้านคุณลักษณะทางอารมณ์ได้แก่

  • • ความตระหนักรู้ในตนเอง ความสามารถในการเข้าใจจุดดี จุดอ่อนและความแตกต่างของตัวเองละคนอื่น
  • • ความเห็นใจคนอื่น ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกและเห็นอกเห็นใจกับคนอื่นแตกต่างจากตัวเอง
  • • ความภูมิใจในตนเอง ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ค้นพบและภูมิใจในความสามารถต่างๆของตน
  • • ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในสังคม

ด้านทักษะ ได้แก่

  • • ทักษะการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร ความสามารถในการใช้คำพูด และภาษาท่าทางเพื่อการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดของตนและบุคคลอื่น ไม่ว่าจะการแสดงชื่นชม การปฏิเสธ เป็นต้น
  • • ทักษะการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ความสามารถในการรับรู้ปัญหา สาเหตุของปัญหา หาทางเลือก วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย การประเมินปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ลงมือแก้ไขได้เหมาะสมในเรื่องต่างๆ
  • • ทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ความสามารถในการประเมินอารมณ์ รู้เท่าทันอารมณ์และพฤติกรรมของคน สามารถเลือกวิธีจัดการอารมณ์ได้เหมาะสม เรียนรู้ควบคุมความเครียด รู้วิธีผ่อนคลาย และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

ซึ่งทักษะชีวิตเบื้องต้นที่กล่าวมา สามารถนำทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด เป็นการเสริมสร้างทักษะส่วนบุคคลและทักษะทางสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่มีการใช้ยาเสพติด เช่นทักษะในการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการประมาณตน ทักษะการสื่อสาร การต่อรอง

 

การปฏิเสธและโน้มน้าว ทักษะการปรับตัว เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งทักษะที่จำเป็นง่ายๆได้ดังนี้

 

  1. การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น การสร้างความตระหนักในคุณค่าของตนเองเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิด ซึ่งบางคนไม่มีความตระหนักในคุณค่าของตนเองหรือมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ทำให้สร้างความสัมพันธ์ และขาดเอื้ออาทรต่อผู้อื่นได้ เกิดการแยกตัวจากสังคม เกิดปัญหาต่างๆ จนมีแนวโน้มในการใช้ยา และฆ่าตัวตายสูง ดังนั้น ต้องมีการพัฒนาพฤติกรรมที่สำคัญต่อไปนี้ เช่น
    • • คิดเชิงบวก
    • • ฝึกให้มีความอดทนกับตัวเอง
    • • หลีกเลี่ยงจากสถานการณ์เสียง (การทะเลาะวิวาท ยาเสพติด)
    • • ปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
    • • มีอารมณ์ขัน
    • • มีความรับผิดชอบต่อผู้อื่น
    • • รักและเห็นคุุณค่าในตนเองและผู้อื่น
    • • มีความภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น
    •  • มีความเชื่อมั่นในตนเองและผู้อื่น
    • • มีความรับผิดชอบต่อสังคม
       
  2. การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ต้องตัดสินใจเลือก ต้องตัดสินใจว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธข้อเสนอ เราจะต้องตระหนักถึงผลที่ตามมาของการตัดสินใจเลือก ฉะนั้น ต้องมีการฝึกฝนในการตัดสินใจ โดยต้องศึกษา คิดวิเคราห์หาข้อมูลในเรื่องที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา แล้วจึงพิจารณาหาทางเลือกให้เหมาะสมจึงตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุด
     
  3. การจัดการกับอารมณ์และความเครียด ความสามารถในการจัดการความเครียด ความโกรธ ความขัดแย้งและการบริหารเวลาเป็นทักษะ ที่สำคัญในการเผชิญปัญหา บุคคลที่ไม่สามารถจัดการกับความกดดันทางสังคม จากตัวเองหรือ จากกลุ่มเพื่อน จะมีแนวโน้มในการใช้สารเสพติด
     
  4. การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น การสื่อสารเป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลทั้งที่เป็นคำพูดและไม่เป็นคำพูด การพัฒนาทักษะ ในการสื่อสาร เช่น สามารถปฏิเสธเพื่อนในสถานการณ์ที่อาจถูกชักชวนไปใช้สารเสพติดหรือเตือนเพื่อน ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด ให้หลีกเลี่ยงหรือเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกจะช่วยให้มีความมั่นใจ เข็มแข็ง กล้าที่จะปฏิเสธและพร้อมที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆที่ไม่ใช้สารได้ และสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เสี่ยงได้

 

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นทักษะง่าย ๆ ที่สามารถเริ่มฝึกได้ตั้งแต่เด็กตลอดจนผู้ใหญ่ จะทำให้เรามีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวและสามารถนำมาปรับใช้เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งอย่าง Day One เป็นศูนย์บำบัดยาเสพติด บำบัดฟื้นฟูผู้ที่มีปัญหาสารเสพติด แอลกอฮอล์ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญแต่ละสหสาขาจะจัดกิจกรรมการบำบัดและโปรแกรมการบำบัดยาเสพติดแบบต่าง ๆ เป็นกิจกรรมบำบัดที่ดีต่อร่างกาย อารมณ์และจิตใจของผู้บำบัดยาเสพติด ทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกลุ่มที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ และทักษะทางสังคมเพื่อให้ผู้บำบัดได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต ที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One

 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091 [email protected]
จันทร์ – อาทิตย์ : 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
05 January 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
11 September 2023
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
15 August 2023
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
21 June 2023
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
21 June 2023
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
21 June 2023
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
21 June 2023
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
23 January 2023
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
13 December 2022
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
21 November 2022
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
21 June 2022
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
21 June 2022
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
10 June 2022
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
28 April 2022
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
11 August 2022
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
29 March 2022
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
06 March 2022
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
06 March 2022
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
28 February 2022
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
28 February 2022
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
07 February 2022
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
07 February 2022
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
06 January 2022
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
28 February 2022
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
23 May 2022
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
23 February 2022
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
23 February 2022
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
23 February 2022
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
23 February 2022
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
23 February 2022
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
23 February 2022
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
23 May 2022
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
23 February 2022
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
23 February 2022