เนื่องจากช่วงนี้ใกล้เข้าสู่ช่วงเลือกตั้ง ขณะที่แต่ละพรรคการเมืองต่างก็มีนโยบาลต่างๆ ขึ้นมาเสนอกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะพูดถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดว่าแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
พรรคก้าวไกล
· กัญชาเพื่อการสันทนาการแนวทางของพรรคก้าวไกล ที่ส่งเสริมให้มีการเปิด Recreational sandbox หรือพื้นที่เฉพาะที่ เช่นเดียวกับในหลายประเทศทั่วโลกและผลักดันให้มีกฎหมายออกมากำกับดูแลการใช้กัญชาให้เร็วที่สุด เพื่อยุติการใช้กัญชาโดยไร้การควบคุม โดยกัญชายังคงมีสถานะเป็นยาเสพติด และมีกฎหมายกำกับดูแลอย่างเหมาะสม
· กัญชาเพื่อทางการแพทย์มีการสนับสนุนการให้ใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์อย่างถูกกฎหมายทั่วประเทศ เพื่อพยายามแก้ไขเนื้อหากฎหมาย เปลี่ยนร่างกฎหมายกัญชาให้เป็นกฎหมายที่กำกับการใช้กัญชาอย่างเหมาะสม เพื่อให้มีการใช้กัญชาในทางการแพทย์ได้อย่างถูกกฎหมาย เป็นประโยชน์กับผู้ป่วยและทุกคน และใช้ร่างกฎหมายนี้เพื่อหยุดภาวะกัญชาไร้ควบคุมที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
พรรคภูมิใจไทย
· กัญชาเพื่อการสันทนาการยังไม่มีนโยบายกัญชาเพื่อสันทนาการ แต่จะไม่ให้กัญชากลับไปเข้ากฎหมาย พรบ.ยาเสพติด
· กัญชาเพื่อทางการแพทย์สนับสนุนกัญชาเพื่อการแพทย์ แต่จะไม่ให้กัญชากับไปเป็นยาเสพติดอีกครั้ง และจะยังคงผลักดันให้กฎหมายกัญชาออกมาเพื่อประชาชนตามเดิม
พรรคเพื่อไทย
· กัญชาเพื่อการสันทนาการไม่สนับสนุน ผลักดันให้กลับไปเป็นยาเสพติด
· กัญชาเพื่อทางการแพทย์มีการสนับสนุนกัญชาทางการแพทย์ ต้องมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาต้องครอบคลุม เกิดประโยชน์ทางการแพทย์อย่างแท้จริง
พรรคพลังธรรมใหม่
· กัญชาเพื่อการสันทนาการมีการคัดค้านการนำกัญชากลับมาเป็นยาเสพติด ไม่สนับสนุนการใช้กัญชาเสรี
· กัญชาเพื่อทางการแพทย์สนับสนุนเรื่องของการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ ยังเห็นว่ากัญชาจะต้องใช้เพื่อการแพทย์ เศรษฐกิจ และสังคม โดยทางการแพทย์ต้องเป็นส่วนหนึ่งของสมุนไพรไทย ใช้ผสมผสานอยู่ในแนวทางการรักษาแบบแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกผสมกัน
พรรคประชาธิปัตย์
· กัญชาเพื่อการสันทนาการมีการคัดค้านการนำกัญชากลับมาเป็นยาเสพติด แต่ไม่สนับสนุนการใช้กัญชาเสรี
· กัญชาเพื่อทางการแพทย์สนับสนุนกัญชาทางการแพทย์เต็มรูปแบบ แต่เป็น “กัญชาการแพทย์มาตรฐานสากล” ต้องมีกฎหมายครอบคุมชัดเจน
จากข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่ามีนโยบายเกี่ยวกับกัญชาเหมือนกัน แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งจากการศึกษาหลายแหล่งข้อมูลไม่ว่าทางจิตแพทย์เอง ยังมองว่ากัญชาเป็นโทษมากกว่า ถ้ายังมีการปลดล็อกกัญชา และมีเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขทบทวนการปลดกัญชาออกจากสารเสพติด เพราะกัญชาคือยาเสพติด ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีมติเห็นชอบประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท5 (เมื่อ 25 มกราคม 2565 บังคับใช้ 9 มิถุนายน 2565) ทำให้ต้นกัญชาและช่อดอกไม่ถือเป็นยาเสพติดให้โทษ ซึ่งส่งผลให้มีการซื้อ ขาย ปลูก เสพ หรือ ใช้กัญชาอย่างเสรี โดยไม่มีการควบคุม เด็ก เยาวชน และประชาชนทำให้สามารถซื้อและใช้เพื่อนันทนาการ จนเกิดปัญหาด้านสุขภาพทั้งตัวผู้เสพและบุคคลอื่นได้(ได้รับผลกระทบจากผู้เสพ) ปัญหาด้านสังคม สุขภาพทางจิต และอาชญากรรม ตลอดจนส่งผลเสียต่อระบบสาธารณสุขในระยะยาว และส่งผลกระทบต่อประชาชนในระยะยาวด้วย และด้านความปลอดภัยของเด็ก เยาวชน สังคม และกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งเสี่ยงได้รับผลกระทบทางสุขภาพที่รุนแรงกว่ากลุ่มอื่นจากการใช้กัญชา จึงควรที่จะไดรับการคุ้มครองและจำกัดการเข้าถึงให้มากที่สุดด้วย
ประเภทสารเสพติดตามกฎหมาย (พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
ยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน แอลเอสดี (LSD) แอมเฟตามีน (Amphetamine) หรือยาบ้า ยาอี (Ecstasy) หรือยาเลิฟ
ยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ในกรณีที่มีไว้จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองต้องได้รับอนุญาต เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน และเมทาโดน
ยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นเป็นส่วนผสมของยา โดยมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เว้นแต่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบการโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง สาขาทันตกรรม จำหน่ายให้แก่คนไข้ของตน หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง จำหน่ายใช้กับสัตว์ที่ตนบำบัดหรือป้องกันโรค การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสียที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน (morphine) เพทิดีน(Pethidine) ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
ยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น Acetic Anhydride ใช้ในการลักลอบผลิตเฮโรอีน , Anthranilic acid และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
โทษของการติดยาเสพติด - โทษต่อร่างกายและจิตใจ ทำลายประสาทสมอง จิตใจเสื่อม ซึมเศร้า กังวล เลื่อนลอย และเป็นโรคจิตจากพิษยานั้นๆ เสียบุคลิกภาพ ขาดความสนใจตนเอง ขาดสติสัมปชัญญะ ร่างกายซูบซีด อ่อนเพลีย พิษยาทำลายอวัยวะต่างๆให้เสื่อมลง มีโรคแทรกได้ง่าย ประสบอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง
โทษต่อครอบครัว
1. ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัวและญาติพี่น้อง
2. เสียทรัพย์ที่จะต้องซื้อยามาเสพ และรักษาตัว
3. ขาดหลักประกันของครอบครัว ทำงานไม่ได้ ไม่เป็นที่วางใจ ของคนทั่วไป นำภัยมาสู่บุตร ภรรยา ญาติพี่น้อง
โทษต่อสังคม
1. เป็นภัยต่อสังคม
2. มีโอกาสเป็นอาชญากรประเภทลักขโมยได้ง่ายเนื่องจากมีรายจ่ายสูง
โทษต่อส่วนรวมและประเทศชาติ
1. เป็นภัยอันตรายต่อผู้อื่น ชุมชนและประเทศชาติ เพิ่มงบประมาณของประเทศในการป้องกันปราบปรามและบำบัดรักษา
2. ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศ
หากท่านหรือบุคคลใกล้ชิดมีภาวะเสพติดกัญชาและต้องการเลิกกัญชา DAY ONE ศูนย์บำบัดยาเสพติด มีรูปแบบการบำบัดการรักษาที่ยึดแนวการบำบัดแบบองค์รวม เป็นศูนย์บำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาจาก แอลกอฮอล์ สารเสพติด และการพนัน เพื่อฟื้นฟูทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม มีการบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091 [email protected]
จันทร์ – อาทิตย์ : 9.00 -17.00