064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด

IMG-BLOG
12 August 2024

อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด

โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย


ยาเสพติดได้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสังคม ที่นำมาสู่ความเสื่อมโทรมทางสุขภาพของผู้เสพ ปัญหาภายในครอบครัว ปัญหาอาชญากรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย หากใครติดยาเสพติดหรือมีบุคคลใกล้ชิดที่ติดยาเสพติดควรจะรีบรักษาหรือเข้าบำบัดยาเสพติดโดยเร็ว ซึ่งปัจจุบันนี้มีศูนย์บำบัดยาเสพติดหลายแห่งที่มีทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญดูแล เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพและส่งผลกระทบต่อบุคคลใกล้ชิดและสังคมรอบข้าง

 

โทษของยาเสพติด

 


1. โทษของยาเสพติดทางด้านกฎหมาย
ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 คือ จำคุก 6 เดือน - 3 ปี หรือปรับ 10,000-60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประเภทที่ 3 ถ้าเสพจำนวนไม่เกินที่กฎกระทรวงกำหนด จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าจำนวนเกินที่กฎกระทรวงกำหนด จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
ประเภทที่ 4 ถ้ามีครอบครองเพื่อจำหน่าย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเมื่อครอบครองยาเสพติดน้ำหนัก 10 กก.ขึ้นไป
ประเภทที่ 5 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


2. โทษของยาเสพติดต่อสุขภาพและจิตใจ
ขึ้นอยู่กับประเภทของยาเสพติด โดยรวมจะทำให้ร่างกายของผู้เสพเสื่อมโทรม สมองถูกทำลาย เกิดอาการเฉื่อยชา กินอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ และภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เมื่อผู้เสพเกิดปัญหาด้านสุขภาพ ก็จะส่งผลต่อจิตใจ ทำให้อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย วิตกกังวล รวมถึงคลุ้มคลั่งและอาละวาด หรือบางทีเกิดอาการหวาดกลัวผู้คนรอบตัว


3. โทษของยาเสพติดต่อครอบครัวและสังคม
สิ้นเปลื้องเงินทอง สร้างปัญหาให้ครอบครัวแตกแยก เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง คนในครอบครัวไม่มีความสุข สูญเสียชื่อเสียง สังคมไม่ยอมรับ ขาดเพื่อน ทั้งยังเป็นปัญหาก่อให้เกิดอาชกรรมในสังคมได้ง่าย

 

ตัวอย่างอาการของผู้ติดยาเสพติดประเภทต่าง ๆ

 


1. ยาบ้า ยาไอซ์ อยู่ในกลุ่มสารกระตุ้นประสาท ออกฤทธิ์ทำให้เกิดความดัน โลหิตสูง ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว และร่างกายตื่นตัว แต่หลังจากหมดฤทธิ์ของาบ้า ยาไอซ์แล้ว จะเกิดอาการถอน (withdrawal symptom) ร่างกายจะรู้สึกอ่อนเพลีย สมองล้า มีผลทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาดได้ ถ้าใช้เสพยาบ้าเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม ประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ บางรายหมดสติ และถึงแก่ชีวิตได้ หรือบางรายกลายเป็นโรคจิตเภท (schizophrenia) ซึ่งมีอาการทางจิตถาวร ถึงแม้จะหยุดใช้สารเสพติดแล้ว


2. โคเคน เป็นกลุ่มสารกระตุ้นประสาท เช่นเดียวกับ ยาบ้า และยาไอซ์ แต่มี ฤทธิ์ที่แรงกว่าเมื่อเสพจะทำให้รู้สึกตื่นตัว คึกคัก รู้สึกมีเรี่ยวแรงมากกว่าปกติ มั่นใจในตัวเองมากขึ้น แต่เมื่อเสพไปนาน ๆ จะทำให้ประสาทหลอน นอนไม่หลับ และตื่นตัวตลอดเวลา หากเสพติดถึงขั้นรุนแรง จะมีผลต่อระบบหัวใจ การเต้นของหัวใจจะเร็วขึ้น อาจเกิดอาการชัก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว และถึงแก่ชีวิตได้


3. ยาเค หรือ เคตามีน (ketamine) เป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์หลอนประสาท โดยผู้เสพจะมีอาการเคลิบเคลิ้ม สูญเสียการรับรู้ การมองภาพ แสง สีและการได้ยินเสียง มีอาการตาลาย และเมื่อเสพต่อเนื่อง อาจทำให้ประสาทการรับรู้ผิดปกติอย่างถาวรได้ ซึ่งเรียกว่า hallucinogen-induced persisting perceptual disorder ซึ่งอาการประสาทรับรู้ผิดปกตินี้จะเป็นลักษณะการมองเห็นภาพหรือแสงสีที่ผิดปกติ เหมือนภาพหลอน อาการเหล่านี้อาจเป็นต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 1 ปี ถึงแม้จะหยุดใช้เคตามีนไปแล้ว อีกอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ที่เสพเคตามีน คืออาการปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะบ่อยปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะเป็นเลือด อาการเหล่านี้เกิดจาก เคตามีนไปทำลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ เรียกว่า ketamine cystitis หรือ ketamine bladder syndrome เมื่อกระเพาะปัสสาวะเสีย ทำให้ผู้เสพไม่สามารถปัสสาวะได้จนสุด ปัสสาวะที่ค้างอยู่ทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อตามมา อาการเหล่านี้มักเป็นอย่างถาวร บางรายต้องใส่สายสวนปัสสาวะคาเอาไว้ หรือบางรายต้องรักษาโดยการผ่าตัดนำลำไส้มาเชื่อมต่อแทนผนังกระเพาะปัสสาวะ


4. ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เรียกอีกอย่างว่ากลุ่มอนุพันธ์ฝิ่น เป็นสารกด ประสาท ผู้เสพจะมีอาการเคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย ง่วงนอน ความคิดช้าลง อารมณ์แปรปรวนง่าย ผู้ที่เสพเฮโรอีนด้วยการฉีดมักจะใส่เสื้อแขนยาว เพื่อปกปิดรอยเข็มที่แขน เมื่อหยุดใช้จะเกิดอาการถอน (withdrawal symptom) อย่างรุนแรง เช่น ปวดกระดูก มีไข้หนาวสั้น คลื่นไส้อาเจียน กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ถ่ายเหลว ปวดท้อง บางรายถ่ายเป็นเลือด ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ลงแดง” เนื่องจากผู้เสพถ่ายออกมาเป็นเลือดสีแดง ทำให้ผู้ติดสารกลุ่มอนุพันธ์ฝิ่น เลิกสารเสพติดด้วยตัวเองค่อนข้างยาก หากผู้เสพได้มาถอนพิษและบำบัดอย่างถูกวิธี อาการถอนหรือ ลงแดงเหล่านี้จะเบาลง และเลิกสารเสพติดได้ง่ายขึ้น


5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสารกดประสาทเช่นเดียวกับกลุ่มอนุพันธ์ ฝิ่น ช่วยลดความวิตกกังวล ทำให้ผ่อนคลาย การควบคุมอารมณ์จะน้อยลง เมื่อดื่มมากขึ้นการควบคุมการพูด กล้ามเนื้อ การทรงตัวจะลดลง หรือหากดื่มมากจนเป็นพิษรุนแรง จะกดการหายใจ หมดสติและเสียชีวิตได้ หรือผู้ดื่มบางรายอาจไม่ได้เสียชีวิตเฉียบพลันจากการดื่ม แต่ดื่มต่อเนื่อง ยาวนานเรื้อรังจนทำให้ตับแข็ง และเสียชีวิตจากตับแข็งหรือมะเร็งตับในภายหลัง อาการถอน (withdrawal symptom) ของแอลกอฮอล์ขึ้นอยู่กับ ปริมาณที่ดื่ม ระยะเวลาที่ดื่มต่อเนื่อง หากผู้ดื่ม ดื่มในปริมาณมากและติดต่อกันมานาน เมื่อหยุดดื่มจะเกิดอาการถอนรุนแรง เช่น ชัก สับสน กระสับกระส่าย เห็นภาพหลอน จำเหตุกาณ์ไม่ได้ ทำให้การเลิกแอลกอฮอล์ด้วยตัวเองเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ดื่มมานาน หากผู้ดื่มได้มาถอนพิษและบำบัดอย่างถูกวิธี อาการถอนจะเบาลง และเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่ายขึ้น


6. LSD เป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์หลอนประสาท เช่นเดียวกับ เคตามีน เริ่มแรกจะรู้สึกมีความสุข คึกคัก แต่หลังจากนั้นจะเกิดอาการประสาทหลอน หวาดระแวง อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย เพราะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ หากเสพติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เป็นโรคจิตเภท เกิดหูแว่ว ภาพหลอน หวาดระแวง อย่างถาวรได้


7. กัญชา เป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์ผสมผสาน ในช่วงแรกผู้เสพจะมีอาการร่าเริง หัวเราะง่าย คุยเก่ง ต่อมาจะมีอาการคล้ายคนเมา ง่วงนอน ซึม จนกระทั่งมีอาการหูแว่ว เกิดภาพหลอน หวาดระแวง บางรายความจำเสื่อม ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ หรือบางรายกลายเป็นโรคจิตเภท (schizophrenia) ซึ่งมีอาการทางจิตถาวร ถึงแม้จะหยุดใช้สารเสพติดแล้ว ซึ่งกัญชาเป็นสารเสพติดที่เป็นสาเหตุของโรคจิตเภทได้บ่อยมาก การที่กัญชาถูกนำมาใช้เป็นยาทางการแพทย์ ไม่ได้หมายความว่ากัญชาไม่มีผลเสีย หรือสามารถนำมาเสพได้อย่างอิสระโดยไม่เกิดอาการเสพติด การนำมาใช้เพื่อเสพยังคงผิดกฎหมาย และทำให้เกิดผลเสียมากมายต่อร่างกาย


สารเสพติด ที่ยกตัวอย่างมา เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ล้วนแล้วเกิดโทษและอันตรายรุนแรงทั้งสิ้น ส่งผลต่อสุขภาพ บางรายถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น เมื่อคุณหรือคนใกล้ชิดได้เข้าไปทดลองหรือเสพมันแล้ว ควรเข้ารับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกวิธี


DAY ONE ศูนย์บำบัดยาเสพติด ที่เป็นสถานบำบัดยาเสพติดกินนอน 28 วัน หรือ 4 สัปดาห์ ซึ่งผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดจะได้รับการรักษาตามโปรแกรมการบำบัดยาเสพติดแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยมีทีมแพทย์และผู้เชียวชาญคอยดูแลตลอดระยะเวลา และคอยติดตามความคืบหน้าในแต่ละวัน เพื่อให้การเข้าบำบัดยาเสพติดของผู้บำบัดเป็นไปอย่างราบรื่นและยั่งยืน


ติดต่อเรา
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

“เฮโรอีน” วงจรการเสพติดและผลกระทบต่อตนเอง
สุขชั่วคราว อันตรายยาวนาน ศูนย์บำบัดยาเสพติด DAY ONE พารู้จักผลกระทบจากเฮโรอีนที่ไม่น่าเสี่ยง
11 October 2024
10 สาเหตุหลักที่ทำให้เลิกสารเสพติดไม่สำเร็จ
แนะนำวิธีเลิกยาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อชีวิตใหม่ที่ปลอดภัยและมีความสุข
12 August 2024
อายาวัสกา สารเปิดจิต ที่เสพติดได้
อายาวัสกา เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางจิตประสาท ส่งผลข้างเคียงทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากพบหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารนี้ ควรได้รับการตรวจประเมิน ปรึกษา หรือรับการบำบัดจากศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
Ketamine จากยาสลบม้า มาเป็นการ "ดมเค"
เคตามีนยาเสพติดที่ส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ผู้เสพควรปรึกษาจิตแพทย์หรือรับการรักษาที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เพื่อรับยาที่ช่วยลดความอยากยาเสพติด ยาปรับอารมณ์ ทำให้การเลิกเคตามีนง่ายขึ้น
12 August 2024
พลังแห่งดนตรี ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ติดยาเสพติด
ดนตรีบำบัด เครื่องมือในการฟื้นฟูผู้ป่วยติดสารเสพติด โดย ศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
12 August 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
12 August 2024
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
12 August 2024
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
12 August 2024
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
12 August 2024
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
12 August 2024
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
12 August 2024
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
12 August 2024
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
12 August 2024
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
12 August 2024
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
25 November 2024
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
12 August 2024
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
12 August 2024
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
12 August 2024
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
12 August 2024
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
12 August 2024
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
12 August 2024
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
12 August 2024
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
12 August 2024
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
12 August 2024
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
12 August 2024
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
12 August 2024
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
12 August 2024
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
28 November 2024
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
12 August 2024
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
12 August 2024
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
12 August 2024
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
12 August 2024
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
12 August 2024
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
28 October 2024
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
12 August 2024
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
12 August 2024
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
12 August 2024