064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00 , Monday – Sunday: 9:00 AM - 5:00 PM

โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร

IMG-BLOG
22 February 2025

โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร?

การทำงานของสมองที่ผิดเพี้ยนไปในผู้ติดยาเสพติด
 

      สมองมี 2 ส่วนหลัก คือ สมองส่วนคิดทำหน้าที่คิดและตัดสินใจด้วยสติปัญญาแบบมีเหตุผล และสมองส่วนอยากเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ยาเสพติดจะกระตุ้นปลายประสาทในสมองให้หลั่งสารเคมีสมองออกมาจำนวนมาก สารเคมีสมองดังกล่าวจะไปกระตุ้นศูนย์ความสุขทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขขึ้น เมื่อใช้ยาเสพติดบ่อย ๆ ครั้ง การทำงานของสมองจะเปลี่ยนแปลงไป การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลจะสูญเสียไปและถูกควบคุมด้วยสมองส่วนอยากแทน ผู้ที่ใช้ยาเสพติดจึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมีอารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ จึงทำให้มีการเสพยาเสพติดบ่อยขึ้น เมื่อเสพยาเสพติดบ่อยขึ้น ยาเสพติดจะทำลายเซลล์สมองบางส่วน และทำให้สารเคมีสมองมีปริมาณลดน้อยลง ทำให้ความสามารถในการคิดและการจำลดน้อยลง และมีผลทำให้มีอาการทางจิตและเกิดโรคจิตในที่สุด
 

ทำอย่างไรให้หายจากโรคสมองติดยา มีทางเดียวเท่านั้นคือ "หยุดใช้ยาเสพติดทันที"
 

     สมองมีโอกาสฟื้นตัวได้เมื่อหยุดเสพยาเสพติดหากสมองยังไม่ถูกทำลายอย่างถาวร การหยุดเสพยาเสพติดจะทำให้เกิดอาการขาดยาและอาการอยากยา เป็นเหตุให้ผู้ติดยาต้องหวนกลับไปเสพยาอีก จำเป็นที่ผู้ใกล้ชิดต้องให้ความช่วยเหลือและนำผู้ติดยาเข้าสู่กระบวนการบำบัดยาเสพติด เพื่อให้ผู้ติดยาสามารถเลิกยาได้อย่างถาวร

     กระบวนการบำบัดยาเสพติดรักษารูปแบบจิต-สังคมบำบัด จะสอนเทคนิคต่าง ๆ ให้ผู้เลิกยาปรับเปลี่ยนความคิด อารมณ์และพฤติกรรม และสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติดได้อย่างถาวร
 

พฤติกรรมเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการอยากยา
 

      จากการทดลองที่นักวิทยาศาสตร์ให้อาหารสุนัขพร้อมกับสั่นกระดิ่งในเวลาเดียวกัน สุนัขได้เห็นและได้กลิ่นอาหารซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นสมองส่วนอยาก (ระบบประสาทอัตโนมัติ) ให้มีการหลั่งน้ำลายและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเพื่อเตรียมการย่อยอาหาร ทำการทดลองเช่นนี้ระยะหนึ่ง จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองสั่นกระดิ่งโดยที่ไม่มีอาหาร สุนัขยังคงมีการหลั่งน้ำลายและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมาเหมือนตอนให้อาหาร จะเห็นว่าสุนัขได้เชื่อมโยงเสียงกระดิ่งซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพร้อมกับการคาดหวังว่าจะได้รับอาหาร

      สมองของผู้ติดยาเสพติดก็เช่นเดียวกัน จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่ถูกวางเงื่อนไขทำให้เกิดความอยากยาเสพติดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองโดยทำให้เกิดความสุขขณะที่เสพยา และสมองจะบันทึกสิ่งที่พบเห็นขณะนั้นไว้เมื่อเวลาผ่านไป สมองจะตอบสนองต่อสิ่งที่เคยพบเห็นราวกับว่ากำลังจะได้เสพยา เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “ ตัวกระตุ้น “ เมื่อผู้ติดยาเผชิญกับตัวกระตุ้นก็จะทำให้เกิดความอยากยา จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์หนทางเดียวที่สุนัขจะหลีกเลี่ยงความอยากอาหาร (หลั่งน้ำลาย) คือการหนีจากเสียงกระดิ่ง ผู้ติดยาก็เช่นเดียวกัน หากไม่อยากเกิดความอยากยา จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงจากตัวกระตุ้นทุกประเภท
 

ภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์ของสมองผู้ติดยาเสพติดชนิดต่าง ๆ

 

Ref: U.S. National Institute on Drug Abuse (NIDA)

      ฤทธิ์ของยาเสพติดมีผลต่อสมองโดยตรง โดยเฉพาะยาบ้าจะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางเมื่อเสพยาบ้าต่อเนื่องสักระยะหนึ่ง สารสื่อเคมีสมองจะเปลี่ยนแปลงและเกิดความผิดปกติของเซลล์สมอง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลทำให้ผู้เสพมีอาการผิดปกติทางอารมณ์ และพฤติกรรม รวมทั้งทำให้ความสามารถของสมองทั้งด้านความจำและความคิดแย่ลง เมื่อมีการเสพยาเพิ่มขึ้นอีก ผู้เสพยาจะเริ่มมีอาการทางจิตได้แก่ หูแว่ว หรือมีความรู้สึกว่ามีแมลงไต่ตามผิวหนัง หากผู้เสพยังไม่เลิกเสพ อาจจะก่อให้เกิดโรคจิตตามมาในที่สุด

      ภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์ ( PET Scan ) ของสมองในระยะต่าง ๆ แสดงให้เห็นชัดว่า สมองมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นในช่วงระยะต่าง ๆ ตั้งแต่ระยะเสพยาจนกระทั่งถึงระยะติดยา พยาธิสภาพดังกล่าวจะหายไปถ้าผู้ติดยาได้รับการบำบัดรักษาถูกวิธี

 

           

Ref: U.S. National Institute on Drug Abuse (NIDA)

      ภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์ 3 มิติที่แสดงให้เห็นผิวสมองด้านนอก ( Cerebral Cortex ) เปรียบเทียบระหว่างสมองคนปกติ สมองผู้ติดยาระยะต้น และสมองผู้ติดยาระยะปลาย

      ผิวสมองที่มีลักษณะขรุขระในผู้ติดยาระยะต้นและระยะปลาย แสดงให้เห็นถึงการทำงานน้อยลงของเซลล์สมองซึ่งเกิดเนื่องมาจากฤทธิ์ของยาเสพติดต่อเซลล์สมองโดยตรง ยิ่งระยะของการติดยานานขึ้น การทำงานของสมองยิ่งน้อยลง

      การทำงานของสมองด้านนอกน้อยลง มีผลให้ความสามารถด้านความจำ ความนึกคิด การตัดสินใจ และการคำนวณลดน้อยลง โดยในระยะต้นผู้ติดยาจะไม่ค่อยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ต้องอาศัยแบบทดสอบความสามารถของสมองจึงจะสามารถตรวจพบได้ ต่อเมื่อการติดยาดำเนินไประยะหนึ่ง ผู้ติดยาและผู้ใกล้ชิดจะสามารถรับรู้ถึงความผิดปกติด้านต่าง ๆ ของสมอง

      พยาธิสภาพของสมองจะลดน้อยลงเมื่อผู้ติดยาเลิกเสพยา สมองจะพยายามซ่อมแซมโดยการเพิ่มเครือข่ายของเซลล์สมอง แต่ต้องใช้ระยะเวลาการซ่อมแซมนานพอสมควรหรือต้องผ่านการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพ

 

ความทรงจำฝังแน่นและความอยากยาเสพติด
 

      ผู้ที่ติดยามักมีความทรงจำที่ฝังแน่นเกี่ยวกับยาเสพติด ที่เป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการเลิกยาเสพติด การทดลองนี้เป็นหลักฐานที่ดี โดยนักวิจัยได้ทำการทดลองฉายวีดีทัศน์ 2 อย่างให้แก่ผู้ที่กำลังเลิกเสพสารโคเคน และใช้ Positron Emission Tomography Scan ในการวัดการทำงานของสมอง ผลการทดลองพบว่าวีดีทัศน์ภาพตัวกระตุ้นเร้า เช่น อุปกรณ์เสพยา เป็นต้น สามารถกระตุ้นเร้าให้สมองส่วน Amygdala ทำงานมากขึ้นพร้อม ๆ กับที่ผู้ป่วยรายงานว่ามีอาการอยากยา ซึ่งโดยปกติสมองส่วนนี้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำและอารมณ์ ส่วนวีดีทัศน์ภาพธรรมชาติไม่กระตุ้นสมองส่วนนี้และไม่ทำให้เกิดอาการอยากยา เช่นเดียวกับผู้ที่เลิกยาเสพติดได้แล้ว ที่มีสมองส่วน Amygdala ในผู้ป่วยมีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถถูกกระตุ้นเร้าได้ง่ายโดยตัวกระตุ้นเร้า ทำให้ผู้ที่กำลังเลิกเสพยาอ่อนไหวและหันกลับไปเสพยาได้ง่าย

      วิธีเลิกยาเสพติด ไม่ง่ายและผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ผู้ติดยาเสพติดต้องการความช่วยเหลือจากแพทย์เพื่อที่จะสามารถข้ามผ่านไปได้ หากคุณ หรือคนในครอบครัวเป็นผู้ที่หลงผิดแล้วและอยากเลิกยาเสพติดหรือครอบครัวที่กำลังหาทางบำบัดยาเสพติด ปรึกษา DAY ONE REHABILITATION CENTER ศูนย์บำบัดยาเสพติด บรรยากาศรีสอร์ทและสถานที่โอบล้อมด้วยสายน้ำและธรรมชาติ สงบและผ่อนคลาย จังหวัดนครนายก สถานฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาจากสารเสพติด ที่กำลังหาวิธีเลิกยาเสพติด วิธีเลิกเหล้า ไปจนถึง วิธีเลิกพนัน โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จิตแพทย์ พยาบาลจิตวิทยา นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านปัญหาสารเสพติด พร้อมให้คำแนะนำและปรึกษา
 

ติดต่อเรา

99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000

064-645-5091

[email protected]

จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

 

บทความล่าสุด

แนะนำวิธีเลิกยาเสพติด เพื่อช่วยคนในครอบครัวที่คุณรักอย่างเข้าใจและได้ผล
สร้างความเข้าใจ ความอดทนและแนวทางที่ถูกต้องสู่วิธีเลิกยาเสพติดอย่างยั่งยืน
17 February 2025
“เฮโรอีน” วงจรการเสพติดและผลกระทบต่อตนเอง
สุขชั่วคราว อันตรายยาวนาน ศูนย์บำบัดยาเสพติด DAY ONE พารู้จักผลกระทบจากเฮโรอีนที่ไม่น่าเสี่ยง
22 February 2025
“กระท่อม” ไม่ใช่แค่สมุนไพร แต่เป็นยาเสพติด
ทำความเข้าใจผลกระทบของกระท่อมที่มีผลต่อสุขภาพ
08 March 2025
ความจริงเบื้องหลังสารเสพติดแบบน้ำ ที่เรียกว่า “Happy Water”
รู้ทันภัย 'Happy Water': สารเสพติดผสมที่อาจคร่าชีวิต
22 February 2025
10 สาเหตุหลักที่ทำให้เลิกสารเสพติดไม่สำเร็จ
แนะนำวิธีเลิกยาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อชีวิตใหม่ที่ปลอดภัยและมีความสุข
22 February 2025
อายาวัสกา สารเปิดจิต ที่เสพติดได้
อายาวัสกา เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางจิตประสาท ส่งผลข้างเคียงทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากพบหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารนี้ ควรได้รับการตรวจประเมิน ปรึกษา หรือรับการบำบัดจากศูนย์บำบัดยาเสพติด
22 February 2025
Ketamine จากยาสลบม้า มาเป็นการ "ดมเค"
เคตามีนยาเสพติดที่ส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ผู้เสพควรปรึกษาจิตแพทย์หรือรับการรักษาที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เพื่อรับยาที่ช่วยลดความอยากยาเสพติด ยาปรับอารมณ์ ทำให้การเลิกเคตามีนง่ายขึ้น
22 February 2025
พลังแห่งดนตรี ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ติดยาเสพติด
ดนตรีบำบัด เครื่องมือในการฟื้นฟูผู้ป่วยติดสารเสพติด โดย ศูนย์บำบัดยาเสพติด
22 February 2025
ติดสารเสพติดเพราะโรคสมาธิสั้นได้อย่างไร
คนเป็นโรคสมาธิสั้น จะมีอาการชอบความตื่นเต้น รอคอยไม่ค่อยได้ ควบคุมความต้องการของตัวเองได้ยาก ความอดทนน้อย ความคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ ซึ่งเป็นความเสี่ยงทำให้ติดสารเสพติดเกือบทุกชนิดและติดการพนัน
22 February 2025
GHB จีเอชบี (GHB หรือ gamma-hydroxybutyric acid) คืออะไร
GHB อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีป้องกันตัวเองจาก GHB
22 February 2025
Gaslighting นี้เราผิดจริงหรือแค่โดนปั่นหัว!
ทำความรู้จักและพฤติกรรมแบบไหนเรียกว่า Gaslighting
22 February 2025
แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
22 February 2025
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
22 February 2025
มารู้จักกับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
22 February 2025
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
22 February 2025
นโยบายกัญชาทางการแพทย์หรือกัญชาเสรี ?
กัญชาทางการแพทย์หรือกัญชาเสรี
23 February 2025
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
23 February 2025
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
23 February 2025
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
23 February 2025
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
23 February 2025
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
23 February 2025
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
23 February 2025
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
23 February 2025
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
23 February 2025
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
23 February 2025
ผลกระทบและแนวทางบำบัดยาเสพติดสำหรับผู้ติดยาเสพติดขณะตั้งครรภ์
คุณแม่ควรมีความรู้และเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตน้อยๆในครรภ์ได้อย่างไร
23 February 2025
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
23 February 2025
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
23 February 2025
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
23 February 2025
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
08 March 2025
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
08 March 2025
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
08 March 2025
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
08 March 2025
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
08 March 2025
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
08 March 2025
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
08 March 2025
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
08 March 2025
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
17 March 2025
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
08 March 2025
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
08 March 2025
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
08 March 2025
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
08 March 2025
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
ข้อควรระมัดระวังทางกฎหมายที่ควรคำนึงถึง หากมีการนำกระท่อมไปใช้ผสมกับสิ่งเสพติดชนิดอื่น
08 March 2025
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
08 March 2025
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
22 February 2025
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
22 February 2025
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
22 February 2025