ปัญหาด้านการใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชนของประเทศไทย ยังเป็นหนึ่งในปัญหาที่มีความรุนแรงและเป็นปัญหาที่สร้างความวิตกกังวลให้กับผู้คนในทุกภาคส่วนเป็นอย่างมากจากจำนวนของผู้เสพสารเสพติดที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ในขณะที่กลุ่มเยาวชนที่ใช้สารเสพติดนั้นกลับมีแนวโน้มที่จะมีอายุลดน้อยลงเรื่อย ๆ โดยผลสำรวจจากปีพ.ศ. 2562 พบว่า กลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 12 - 19 ปี มีการใช้สารเสพติดมากถึงร้อยละ 3.72 (ข้อมูลจาก: https://tna.mcot.net/tna-446471)
ซึ่งอย่างที่เราทุกคนทราบกันดีว่า การใช้สารเสพติดให้โทษไม่เพียงแต่จะส่งผลให้ผู้เสพยาเกิดปัญหาโดยต่อสุขภาพกาย ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว หรือเป็นการทำลายให้สมองเสื่อมลงกว่าที่ควรจะเป็น แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพจิตที่ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน คลุ้มคลั่ง และขาดสติในการควบคุมตัวเอง วันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ และโคเคน พร้อมวิธีในการบำบัดยาเสพติด มาเพื่อให้ทุกคนได้ช่วยกันสอดส่อง ดูแล และระมัดระวัง หรือในกรณีที่พบว่ามีคนในครอบครัวใช้สารเสพติดก็จะได้สามารถนำผู้ที่ใช้สารเสพติดไปเข้ารับการบำบัดยาเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติดโดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้เสพเองและบุคคลใกล้ชิดรอบข้าง
ยาไอซ์ (Ice) เป็นสารเสพติดกระตุ้นประสาทรูปแบบหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งเป็นชื่อเรียกทางเคมีของยาบ้า (Amphetamine) ที่มีลักษณะเป็นผลึกใสคล้ายก้อนน้ำแข็ง โดยยาไอซ์ถือเป็นสารเสพติดที่มีความบริสุทธิ์มากกว่ายาบ้าราว ๆ 4-5 เท่า จึงทำให้ในกลุ่มผู้เสพสารเสพติดมักนิยมเรียกยาชนิดนี้ว่า หัวยาบ้า บางครั้งอาจเรียกคำแสลงในภาษาไทยว่า “น้ำแข็ง” เนื่องจากการกลไกการออกฤทธิ์ของยาไอซ์มีความรุนแรงที่มากกว่า สามารถทำให้ติดได้ง่ายกว่า และมีผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจที่รุนแรงกว่าการใช้ยาบ้า
โดยส่วนใหญ่แล้วกลไกการออกฤทธิ์ของยาไอซ์ มักจะมีการออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและสมอง ที่ทำหน้าที่ควบคุมความคิดและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ส่งผลให้ผู้เสพยาไอซ์จึงเกิดความรู้สึกตื่นตัว ร่าเริง ไม่เหนื่อย ไม่ง่วง อยู่นิ่งไม่ได้ ทั้งยังช่วยผ่อนคลายความรู้สึกเหนื่อยล้า หรือในบางรายอาจทำให้มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น จึงพบว่าผู้เสพบางรายอาจใชเพื่อนจุดประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เพื่อให้มีเพศสัมพันธ์ได้ยาวนานขึ้น ถึงจุดสุดยอดได้หลายครั้ง แต่ถ้าหากใช้ยาไอซ์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนหรืออาการซึมเศร้ารุนแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว รวมถึงเกิดการหวาดระแวง ย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งถ้าหากมีการเสพยาไอซ์ด้วยวิธีการฉีดยาไอซ์เข้าทางเส้นเลือด ก็จะส่งผลให้ผู้เสพยาไอซ์มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อไวรัสทางกระแสเลือด อย่างเช่น ไวรัสตับอักเสบชนิด B และ C จากการใช้อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกับผู้อื่นได้
นอกจากนี้ในรายที่มีการใช้ยาไอซ์ในปริมาณที่มากเกินขนาดอาจส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ประสาทหลอน ความจำเสื่อม กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก หรืออาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเกิดการชักหรือหมดสติ ซึ่งนำไปสู่การทำให้ระบบหายใจล้มเหลว ช็อก และเสียชีวิตได้
ในปัจจุบันนี้ ผู้เสพติดยาไอซ์จำเป็นจะต้องเข้ารับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้องที่สถานบำบัดยาเสพติดกินนอน เพื่อที่จะได้รับการประเมินอาการและพฤติกรรมอย่างละเอียดรอบคอบก่อนจะนำไปสู่การเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง ตลอดจนการปรับแผนการบำบัดยาเสพติดตามความจำเป็นเพื่อให้ได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างดีที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววิธีบำบัดรักษาผู้เสพติดยาไอซ์ของศูนย์บำบัดยาเสพติด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้
1. ช่วงการบำบัดเพื่อถอนพิษยาไอซ์ (Detoxification) เป็นวิธีการบำบัดยาเสพติดหลังจากที่ผู้เสพยามีการใช้ยาเสพติดต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานจนทำให้ร่างกายเกิดการติดยา ผู้เสพยาจึงจำเป็นที่จะต้องทำการดีท็อกซ์เพื่อล้างสารเสพติดที่มีอยู่ในร่างกายออกไปให้หมด ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความจำเป็นจะต้องเกิดขึ้นภายใต้ความดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ในศูนย์บำบัดยาเสพติดที่มีความเชี่ยวชาญและมีใบอนุญาตอย่างถูกต้อง ที่สามารถดูแลและจ่ายยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการถอนยาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เสพสารเสพติดในระหว่างการบำบัดรักษาได้
2. ช่วงการบำบัดรักษาฟื้นฟูอาการของผู้ที่ติดยาไอซ์ (Rehabilitation) เป็นการรักษาด้วยวิธีแบบจิตบำบัดหลังจากที่อาการถอนยาของผู้บำบัดยาเสพติดนั้นดีขึ้นแล้ว ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีแต่วิธีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดและนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก คือ วิธีการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy – CBT), การบำบัดความคิดและพฤติกรรมตามแนวสติปัฏฐาน (Mindfulness-based Cognitive Behavioural Therapy – MCBT), การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing), และครอบครัวบำบัดตามหลักซาเทียร์ (Satir Family Therapy) ซึ่งสามารถทำการบำบัดได้ทั้งในรูปแบบเดี่ยวและรูปแบบกลุ่มเพื่อการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและช่วยให้ผู้บำบัดยาเสพติดสามารถเข้าใจถึงความคิดและพฤติกรรมหลังการบำบัดยาเสพติดของตัวเองได้ดีมากยิ่งขึ้น
โคเคน (โคคาอีน) หรือนิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่า Coke, Snow, Speed Ball, Crack ฯลฯ เป็นสารเสพติดจากธรรมชาติที่มาจากการนำเอาใบของต้นโคคา (Erythroxylum coca) ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ และอเมริกากลาง มาสกัดให้เป็นผงก่อนจะนำมาเสพโดยการสูดผงยาเข้าไปในโพรงจมูก (Snort), การนำไปเผาไฟแล้วสูบควันเข้าปอด (Smoke), หรือนำไปละลายแล้วนำมาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
โดยโคเคนจัดเป็นสารเสพติดให้โทษประเภท ๒ ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกันกับยาไอซ์ (Ice) และยาบ้า (Amphetamine) แต่โคเคนทำให้เกิดอาการติดยาได้ง่ายกว่า โดยอาการของผู้ที่เสพโคเคนนั้นจะมีมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณและความเร็วของโคเคนที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในระยะแรกโคเคนจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทซึ่งทำให้ผู้เสพไม่รู้สึกเหนื่อย มีกำลัง มีความกระปรี้กระเปร่าเพิ่มมากขึ้น และเกิดการเคลิบเคลิ้มเป็นสุข (euphoria) ในระยะเวลาสั้น ๆ แต่เมื่อฤทธิ์ของโคเคนหมดลงก็ทำให้ร่างกายกลับสู่สภาวะอ่อนเพลีย เมื่อยล้า และเกิดอาการเซื่องซึมขึ้นมาทันที
สำหรับผู้เสพยาที่มีการเสพติดโคเคนอย่างรุนแรง มักจะมีอาการกระสับกระส่าย อารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว จิตใจหดหู่ และกังวลใจอย่างรุนแรงเมื่อเลิกเสพ ส่งให้ผู้เสพติดโคเคนส่วนใหญ่จึงมักจะเสพยาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองเกิดอาการตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้น จนเป็นผลทำให้ร่างกายได้รับโคเคนเกินขนาดจนนำไปสู่การเกิดพิษแบบเฉียบพลัน ซึ่งฤทธิ์ของโคเคนจะไปกดการทำงานของหัวใจ ทำให้อัตราการเต้นหัวใจเร็วขึ้น ความดันเลือดสูง ซึ่งส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการชัก หมดสติ ระบบการหายใจล้มเหลว หัวใจวาย เส้นเลือดในสมองแตก และนำไปสู่การเสียชีวิตได้
วิธีการบำบัดยาเสพติดที่ดีที่สุดสำหรับผู้เสพติดโคเคนขั้นรุนแรง คือ การเข้ารับการบำบัดยาเสพติดแบบประจำที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เพื่อที่จะได้รับการบำบัด ดูแล และเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ผู้บำบัดยาเสพติดได้กลับไปคลุกคลีกับผู้เสพคนอื่น ๆ โดยวิธีบำบัดรักษาผู้เสพติดโคเคนของศูนย์บำบัดยาเสพติด สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. การบำบัดเพื่อถอนพิษโคเคน สำหรับผู้บำบัดยาเสพติดที่มีการเสพโคเคนต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานหรือเสพโคเคนในปริมาณมากภายในครั้งเดียวมักจะเกิดอาการกระสับกระส่าย อารมณ์แปรปรวน ร่างกายเหนื่อยล้า อยากเสพยาอย่างรุนแรง หรืออาจนำไปสู่การเกิดอาการที่เรียกว่า Post-Acute Withdrawals Syndrome (PAWS) ซึ่งเป็นอาการที่เกิดการถอนยาแบบเฉียบพลัน ซึ่งนำไปสู่อาการที่คล้ายกับความเจ็บป่วยทางจิตเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานหลายเดือนถึงหลายปี จึงทำให้การบำบัดเพื่อถอนพิษโคเคนจึงจำเป็นที่จะต้องทำอย่างถูกต้องภายใต้การดูแลของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญภายในสถานบำบัดยาเสพติดกินนอน
2. การให้คำปรึกษาและบำบัดรักษาผู้เสพติดโคเคน เป็นขั้นตอนสำหรับการรักษาและบำบัดการติดยาเสพติดด้วยวิธีจิตบำบัดด้วยวิธีการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy – CBT), การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing), และครอบครัวบำบัดตามหลักซาเทียร์ (Satir Family Therapy) เพื่อช่วยให้ผู้บำบัดยาเสพติดได้รับกำลังใจจากผู้บำบัดยาเสพติดคนอื่น ๆ ที่มาเข้ารับการบำบัดในศูนย์บำบัดยาเสพติดด้วยกัน และช่วยให้ผู้บำบัดยาเสพติดรู้เท่าทันความคิดและพฤติกรรมของตัวเองมากยิ่งขึ้นจนไม่คิดหวนกลับไปใช้ยาเสพติดอีกครั้ง
3. การบำบัดยาเสพติดเพื่อฟื้นฟูกายใจ นอกจากการบำบัดรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดแล้ว การบำบัดยาเสพติดเพื่อฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจด้วยการทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกสมาธิ การนวดแผนไทย ดนตรีบำบัด การออกกำลังกาย หรือการทำอาหาร เป็นต้น ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดี ๆ ที่จะช่วยให้ผู้บำบัดยาเสพติดมีอารมณ์ที่สดชื่นแจ่มใส จิตใจสงบ ผ่อนคลายความเครียด และรู้สึกมีพลังงานด้านบวก รวมถึงมีพลังในการใช้ชีวิตที่เพิ่มมากขึ้น
ปัญหาด้านการใช้สารเสพติดถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม โดยศูนย์บำบัดยาเสพติด DAY ONE REHABILITATION CENTER เราเป็นสถานบำบัดยาเสพติดกินนอนที่มีโปรแกรมให้ครอบครัว หรือผู้ที่ต้องการมาเข้ารับการบำบัดยาเสพติดได้เลือกมากมาย ทั้งโปรแกรมการบำบัดแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมต่อความต้องการของผู้บำบัดยาเสพติดแต่ละคนมากที่สุด เพื่อช่วยให้ผู้บำบัดยาเสพติดไม่คิดหันกลับไปใช้สารเสพติดอีกครั้ง
ติดต่อเรา
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00