064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บำบัดยาเสพติดรายบุคคล (Individual Psychotherapy)

 

โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดที่ Day One ออกแบบมาสำหรับแต่ละบุคคล

 

     ผู้รับการบำบัดยาเสพติดแต่ละคนมีปัญหาที่แตกต่างกัน ปัญหาที่ทำให้บุคคลหนึ่งเข้าสู่วังวนของการติดสารเสพติด เกิดจากความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมทางแง่ลบ ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เช่น การคิดว่าตนเองไม่มีคุณค่า ไม่ได้รับการยอมรับ ทำให้เกิดความทุกข์ความเสียใจ มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและผู้อื่น จึงใช้ยาเสพติดในการแก้ปัญหา หรือการที่บุคคลนั้นเกิดความเครียดความกดดันในการทำงาน ไม่สามารถหาทางออกได้ จึงหันเหไปพึ่งยาเสพติด ทีมผู้เชี่ยวชาญของเราจึงต้องออกแบบโปรแกรมบำบัดยาเสพติดเฉพาะให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การบำบัดยาเสพติดแบบรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดได้ปรึกษาปัญหาส่วนตัว ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การใช้ยาเสพติด การนำประเด็นเหล่านั้นมาพูด มีจุดประสงค์เพื่อหาทางออก แก้ไขปัญหาอื่นๆ ควบคู่ไปกับการเลิกสารเสพติด

 

หลักการพื้นฐานในการให้คำปรึกษา

 

     การให้การปรึกษา มีสิ่งที่แตกต่างจากการให้บริการทั่วไป ผู้ให้การปรึกษา ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ และวิธีการตอบสนองบางอย่างต่อผู้รับการปรึกษา เช่น เชื่อในศักยภาพของผู้รับการปรึกษา แสดงออกถึงความเท่าเทียมกันระหว่าง การวางตัวเป็นกลาง การใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการรับรู้ทั้งเนื้อหาและอารมณ์ การสร้างความไว้วางใจ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความเห็นอกเห็นใจ จริงใจ การเน้นการรักษาความลับ ศูนย์กลางความคิด ความรู้สึก และการตัดสินใจอยู่ที่ผู้รับการปรึกษา

 

ขั้นตอนในกระบวนการให้คำปรึกษาด้านการบำบัดยาเสพติด

 

1. สร้างสัมพันธภาพ-ตกลงบริการ

2. สำรวจปัญหา

3. ทำความเข้าใจปัญหา สาเหตุ ความต้องการ

4. วางแผนการแก้ไขปัญหา

5. ยุติกระบวนการ

 

     เราใช้การบำบัดแบบก้าวหน้าใช้กระบวนการให้คำปรึกษา โดยผสมผสานเทคนิคการบำบัดที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โปรแกรมของเราจะเป็นซึ่งอาศัยโครงร่างของ 28 day program หรือ Minnesota model ที่มีชื่อเสียง และเก่าแก่ของประเทศสหรัฐอเมริกา โปรแกรมยังคงหัวใจที่สำคัญ คือ หลัก 12 ขั้นตอน (The twelve steps) ของกลุ่มผู้ติดแอลกอฮอล์นิรนาม(Alcoholics Anonymous) นำหลักจิตวิทยาแนวพุทธและจิตวิทยาตะวันตกที่สำคัญได้แก่ Motivational Interviewing (MI) และ Cognitive Behavioral Therapy (CBT) เป็นต้น เข้ามาผสมผสานเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด รูปแบบการบำบัดรักษา Inpatient program ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดทุกวันตลอดการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นเวลา 28 วัน หรือ 4 สัปดาห์

 

แนวคิดการบำบัดยาเสพติด

 

      1. หลัก 12 ขั้นตอน (The twelve steps) 

     การบำบัดแบบบุคคลโดยการนำ หลัก 12 ขั้นตอน (The twelve steps)  มาให้คำปรึกษาและประยุกต์ในการบำบัด โดยนำหลักการมาใช้เป็นการหาที่พึ่งทางใจ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจให้ผู้บำบัดค้นพบวิธีเลิกเหล้า และวิธีเลิกยาเสพติด ได้อย่างถาวรหลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันหาวิธีเลิกเหล้าและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกเหล้า ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดเหล้าและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเหล้าได้อย่างต่อเนื่อง แนวคิดของหลัก 12 ขั้นตอน คือการยอมรับ (acceptance) ว่าตนเองมีปัญหาจากสุราและยาเสพติดจนยากเกินกว่าที่จะจัดการด้วยตัวเองได้ จึงต้องหันไปเคารพพึ่งพาพลังอำนาจที่อยู่เหนือตน (Higher power) สิ่งที่ยึดมั่นศรัทธาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ นอกจากนี้ยังนำคำสอนตามหลักพุทธศาสนา เพราะเชื่อว่าเป็นศาสนาที่เน้นทั้งหลักศรัทธาและปัญญา พลังอำนาจที่อยู่เหนือตนของชาวพุทธก็คือ พระรัตนตรัย และที่สำคัญคือเป้าหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาคือ การพัฒนาให้เกิดปัญญา และเมื่อเกิดปัญญา ผู้ปฎิบัติก็จะเห็นสิ่งต่างๆ ตามที่เป็นจริงและสามารถปฏิบัติตนได้สอดคล้องกับธรรมชาติ ละวางจากสิ่งไม่ดี หลัก 12 ขั้นตอนแนวพุทธเป็นการพัฒนาตนเองอย่างเป็นลำดับขั้น ประกอบไปด้วย การยอมรับและพร้อมที่จะแก้ไขการกระทำที่ไม่เหมาะสมในช่วงที่ตนเองติดสารเสพติด การน้อมนำมรรคมีองค์แปดมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่อุดมไปด้วยสติและปัญญา ความเพียรพยายามปฏิบัติตามแนวทางมรรคอย่างต่อเนื่องเป็นวิถีชีวิต เมื่อตนเองดีขึ้นจากการปฏิบัติตามหลักการ มีสติ ก็จะสามารถแบ่งปันประสบการณ์โดยการให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้บำบัดสารเสพติดอื่น ๆ เป็นเครือข่ายต่อไป

 

      2. Motivational Interviewing (MI)

     การบำบัดแบบบุคคลโดยการนำ MI มาใช้ในการสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพ ปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องหรือมีสาเหตุมาจากพฤติกรรม จะเห็นว่ามีหลักฐานชัดเจนแสดงถึงประสิทธิภาพของ MI ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นให้ดีขึ้นได้ เช่น การติดสุรายาเสพติด การติดเกม การติดการพนัน เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการให้ความช่วยเหลือด้านพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดที่ใช้วิธีการชี้นำหรือชักชวนอย่างเป็นระบบโดยไม่ตัดสินหรือกดดัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นอันตรายไปสู่สิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมตามความเป็นจริง ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับผู้บำบัด แนวทางการสัมภาษณ์แบบสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อการรักษา ซึ่งปัจจัยสำคัญของปัญหาที่ทำให้ผู้บำบัดส่วนใหญ่ขาดแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง ก็คือ ภาวะความลังเลใจ หากผู้ให้การปรึกษาสามารถช่วยให้ผู้บำบัดเกิดการสำรวจและเอาชนะความลังเลใจได้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายก็มีความเป็นไปได้ ดังนั้น การนำเอาวิธีการของการให้การปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจมาใช้ในการช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดจึงเป็นวิธีการที่ช่วยให้พวกเขาได้สำรวจและแก้ไขความลังเลใจอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ เช่น การลดอันตรายจากการใช้ยา การปรับพฤติกรรมให้เข้ากับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป และเป้าหมายสุดท้ายคือการหยุดใช้ยาได้ในที่สุด การปรึกษาแบบ MI มีพื้นฐานความเชื่อที่ว่าการรักษาที่มีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรมชาติ แรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้การปรึกษากับผู้เข้าบำบัด ท่าทีและจิตวิญญาณของผู้ให้การปรึกษาโดยเฉพาะความเห็นอกเห็นใจจะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การบำบัดประสบความสำเร็จ

 

     3. การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญาสำหรับการติดยาเสพติด Cognitive Behavioral Therapy (CBT)

  การบำบัดแบบบุคคลโดยการนำ CBT มาประยุกต์ใช้ในการบำบัด โดยจะเป็นบำบัดแบบ "พูดคุย" และมุ่งเน้นไปที่หลักการทางจิตวิทยาของพฤติกรรมนิยม เป็นการดูว่าพฤติกรรมของแต่ละคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรและวิธีที่พวกเขาคิดและรู้สึกเกี่ยวกับสังคมรอบตัวพวกเขา ผ่านความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรมแต่ละคนสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขาได้โดยการเปลี่ยนวิธีคิด นอกจากนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการหยุดอาการกำเริบของโรคในผู้ติดยาและแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังใช้เพื่อรักษาผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าความวิตกกังวลและความผิดปกติทางสุขภาพจิตอื่น ๆ ด้วยการป้องกันความคิดเชิงลบที่มาโดยอัตโนมัติ CBT สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีมุมมองที่ดีต่อสุขภาพของชีวิตและตระหนักว่าพวกเขามีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงอนาคตของพวกเขา ผู้ป่วยที่ได้รับ CBT จะเหมาะกับการรับมือกับสถานการณ์ในอนาคตได้ดีกว่า

 

ข้อดีของการบำบัดยาเสพติดแบบ CBT

 

   ข้อดีของการบำบัดยาเสพติดแบบ CBT คือสามารถปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมได้ในระยะยาว เมื่อความคิดเปลี่ยน พฤติกรรมก็เปลี่ยน หากผู้ป่วยที่เข้ารักษาอาการติดยาเสพติดสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมและทำพฤติกรรมใหม่ซ้ำๆ อยู่อย่างนั้นเป็นระยะเวลานานมากพอ ก็จะติดเป็นนิสัย จากคนที่เคยคิดลบมาตลอด ก็จะกลายเป็นคนคิดบวก มองเห็นสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นกับตนเอง มองเห็นโอกาส และมองเห็นความดีในตัวเอง รู้ว่าตนเองนั้นคู่ควรกับสิ่งดี ๆ ก็จะคิดดีทำดี มีจิตใจที่เข้มแข็งพอที่จะปฏิเสธการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เพราะรู้แล้วว่าตัวเองดีพอที่จะไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด CBT สามารถช่วยให้แต่ละคนเอาชนะการติดยาและแอลกอฮอล์ได้โดย ช่วยขจัดความเชื่อผิด ๆ และความไม่มั่นใจที่นำไปสู่การใช้สารเสพติด จัดหาเครื่องมือช่วยเหลือตนเองเพื่อปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น สอนทักษะที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับผู้อื่น เรียนรู้ที่จะระบุทริกเกอร์และวิธีควบคุม การรับรู้และระบุสถานการณ์ที่นำไปสู่การใช้ยาและแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงและนำตัวเองออกจากสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดการกระตุ้น การรับมือจัดการและบรรเทาอารมณ์และความคิดที่ก่อให้เกิดการใช้สารเสพติด

    สาเหตุหนึ่งที่ CBT มีประสิทธิภาพมากสำหรับผู้ที่ฟื้นตัวจากการใช้ยาและแอลกอฮอล์เนื่องจากเทคนิคการบำบัดที่ได้รับการฝึกฝนในสถานบำบัดยาเสพติด เมื่อหลังออกจากสถานบำบัดสามารถนำแบบฝึกหัดและเทคนิค CBT สามารถฝึกได้ที่บ้านหรือ เป็นอีกหนึ่งกระบวนการบำบัดที่เราใช้ในการบำบัดผู้เข้ารับการรักษาอาการติดยาเสพติดอย่างได้ผลแท้จริง

     ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของ Day One จึงได้ออกแบบโปรแกรมบำบัดยาเสพติดเฉพาะให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การบำบัดยาเสพติดแบบรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดได้ปรึกษาปัญหาส่วนตัว ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การใช้ยาเสพติด การนำประเด็นเหล่านั้นมาพูด มีจุดประสงค์เพื่อหาทางออก แก้ไขปัญหาอื่น ๆ ควบคู่ไปกับแนวคิดในการบำบัดไม่ว่าจะเป็นหลัก 12 ขั้นตอน (The twelve steps) Motivational Interviewing (MI) และ Cognitive Behavioral Therapy (CBT) เป็นต้น เข้ามาผสมผสานเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด รูปแบบการบำบัดรักษาในสถานบำบัดยาเสพติด ซึ่งผู้บำบัดเข้ารับการบำบัดทุกวันตลอดการฟื้นฟู ทำให้ผู้บำบัดต้องมีสติทบทวนตัวเองว่าที่ผ่านมานั้นข้อเสียของการติดยาเสพติดมีอะไรบ้าง และตั้งใจ มุ่งมั่น อดทนเพื่อที่จะเลิกยาเสพติดให้ได้ โดยหาเป้าหมายจูงใจ นึกถึงข้อดีของการเลิก เช่น ทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่นมากขึ้น สามารถรับผิดชอบหน้าที่การงานต่าง ๆ ได้ดีขึ้น สุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่ทรุดโทรม เป็นต้น ทั้งนี้ได้นำครอบครัวและคนรอบข้างมามีส่วนร่วมในการบำบัด กำลังใจ เข้าใจ เพื่อสร้างความหวังและกำลังใจให้กัน ซึ่งแรงบันดาลใจเหล่านี้ย่อมช่วยเสริมกำลังใจให้ผู้ติดเหล้า ติดยาเสพติด นั้นสามารถเลิกเหล้าได้ และไม่หันกลับไปพึ่งเหล้าได้อีก