064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บำบัดยาเสพติด ด้วยวิธีดนตรีบำบัด Music Therapy

 

การใช้กิจกรรมทางดนตรีเข้ามาบำบัดกับผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกทางที่จะช่วย

ฟื้นฟูสภาพร่างกาย พัฒนาด้านอารมณ์ สติปัญญา และช่วยปรับสภาวะของร่างกายให้เกิดความสมดุล

 

 

     ปัจจุบันไม่ว่าจะทางการแพทย์และคนทั่วไปให้ความสนใจเรื่องการใช้ดนตรีบำบัดโรคต่าง ๆ กันแพร่หลาย เป็นศาสตร์วิชาความรู้การบำบัดและกายภาพบำบัดด้วยดนตรี มีคำกล่าวว่า ดนตรีเป็น "mind medicine" เนื่องจากการวิจัยพบว่า เมื่อได้ฟังดนตรีจะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล ระดับของ cortisol ลดลง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ดนตรีบำบัดช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ เช่น ช่วยเพิ่มความมั่นใจและการกล้าแสดงออก ช่วยให้เรียนรู้ในการฝึกควบคุมอารมณ์ของตนเอง ช่วยให้เกิดจินตนาการ การฝึกคิดวิเคราะห์ พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว หรือพัฒนาศักยภาพด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด และทักษะทางสังคม ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยให้คนที่ต้องการยกระดับคุณภาพจิตใจให้ดีขึ้น สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้ที่อยากเพิ่มพูนศักยภาพของตนเอง ซึ่งแตกต่างจากการรักษาโรคทั่วไป ซึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด สถานที่บำบัดยาเสพติด อย่าง Day one rehab center เชื่อว่า ทุกคนมีคุณค่าและความสามารถในตนเอง อยากใช้ชีวิตอย่างมีความหมายและมีความสุข แต่ในบางครั้งเมื่อประสบปัญหาบางอย่างในชีวิต ทำให้เริ่มใช้ยาเสพติดในการแก้ปัญหา จนนำไปสู่การติดยาเสพติด แต่หากผู้ที่ประสบปัญหามีความหวังและกำลังใจ ตั้งใจอย่างแน่วแน่ และมีแนวทางสู่การเลิกเสพอย่างถูกต้องย่อมสามารถทำได้สำเร็จ ทาง Day one จึงมีกิจกรรมดนตรีบำบัด Music Therapy มาเป็นตัวเลือกให้กับผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดอีกด้วย

     เรามักจะได้ยินว่าดนตรีเปรียบเสมือนภาษากลางที่ช่วยทำหน้าที่สื่อสารถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนเล่นดนตรี คนแต่งเพลง คนร้อง หรือคนฟังทุกคนสามารถเชื่อมโยงกันได้หมดจากดนตรี

 

มาทำความรู้จักกับดนตรีบำบัดคืออะไร?

 

        รูปแบบและวิธีการของดนตรีบำบัด การใช้ดนตรีเพื่อการบำบัดย่อมมีเหตุผลที่แตกต่างกัน ตามสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง โดยส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์เพื่อการฟื้นฟู รักษา และเสริมสร้างสุขภาพด้านร่างกาย อารมณ์สังคมและจิตใจ ดนตรีบำบัดเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บำบัดและผู้เข้ารับการบำบัด ในการทำดนตรีบำบัดนั้นสามารถแยก กิจกรรมหลักได้เป็นสองประเภท คือการฟัง (Receptive) และการเล่น (Active) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้กันทั่วไป ในยุโรป (Allen,2013; Atiwannapat, Thaipisuttikul, Poopityastaporn, & Katekaew, 2016) กิจกรรมดนตรีบำบัดประเภทการฟัง (Receptive music therapy ) เป็นรูปแบบดนตรีบำบัดที่ถือได้ว่าเก่าแก่ที่สุด ได้แก่ การฟังเพลง เสียงนก เสียงไม้ เสียงน้ำไหล หรือดนตรีเพื่อการผ่อนคลาย (Relaxing music)

         การเล่นดนตรีเป็นการใช้เทคนิคที่เรียกว่าการทำ Sound journey เทคนิคหลักของกิจกรรมการฟัง นี้คือ Bonna method of guided imagery music therapy (Solanki et al., 2015) การฟังในดนตรีบำบัดนั้นจัดว่าเป็นการฟังแบบมีจุดประสงค์เป็นการเตรียมความพร้อมของคนไข้ก่อนที่จะพบกับกระบวนการบำบัดแบบอื่นในขั้นต่อไป นอกจากนี้ยังมีการให้ฟังเพลงร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อเพลงและความหมาย (Song analysis) กิจกรรมการฟังเพลงใช้มากในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Hospice) และการดูแลแบบ ประคับประคอง(Palliative care) ด้วย

        การใช้กิจกรรมทางดนตรีต่าง ๆ เข้ามาบำบัดกับผู้รับบริการ เช่น การฟังเพลงหรือเล่นดนตรี เพื่อบำบัดความเจ็บป่วย ฟื้นฟูสภาพร่างกาย พัฒนาด้านอารมณ์ และสติปัญญา การรักษาด้วยดนตรีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ทำให้สนุก ปรับสภาวะของร่างกายให้เกิดสมดุล และลืมความเจ็บปวดในช่วงขณะหนึ่ง สามารถใช้เสียงดนตรี เพื่อลดความวิตกกังวล ความเครียดได้ และทำให้สามารถนอนหลับดีขึ้น อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยว่ามีความพร้อมที่จะใช้วิธีดนตรีบำบัด 

      ทางการแพทย์และสถานพยาบาลหลายแห่งใช้ดนตรีบำบัดในการรักษาความเจ็บป่วยและการบำรุงรักษาสุขภาพ นักดนตรีบำบัดช่วยผู้ป่วยในการดูแลแบบเฉียบพลัน การผ่าตัด การฟื้นฟู และการพักฟื้น โดยให้บริการแก่ผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขา

 

 

 

 

ประโยชน์ของดนตรีบำบัด

 

     ดนตรีบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ และหลายกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงวัย เพื่อตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างกันไป เช่น ปัญหาบกพร่องของพัฒนาการ สติปัญญา และการเรียนรู้  โรคซึมเศร้า ผู้บำบัดยาเสพติด ผู้ป่วยจิตเวช โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง ความพิการทางร่างกาย, อาการเจ็บปวด และภาวะอื่น ๆ

ระดับเสียง ทำให้เกิดสมาธิ เพราะเสียงที่ไม่สูงเกินไปจะสามารถทำให้เกิดสมาธิที่สุด โดย

เฉพาะอย่างยิ่งเสียงจะมีผลต่อคลื่นสมองของมนุษย์ ความเร็ว-จังหวะ เป็นสิ่งทีมีความสำคัญต่อร่างกายมาก หารระดับความเร็วของจังหวะดนตรีเท่ากับอัตราการเต้นของชีพจร หรือการเต้นของหัวใจจะทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย
ทำนอง ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้จิตนาการเสียงประสาน สามารถกล่อมเกลาอารมณ์ได้
ทำให้อารมณ์ของผู้เข้ารับการบำบัดสงบลง ดนตรีสามารถบรรเทาความดึงเครียดของกล้ามเนื้อและช่วยการขับเคลื่อนทักษะ

  • ปรับสภาพจิตใจให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีความสงบ และมีทัศนคติในเชิงบวกเพิ่มขึ้น

  • ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล (anxiety/ stress management)

  • กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ (cognitive skill)

  • กระตุ้นการรับรู้ (perception) และ พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว (motor skill)

  • เสริมสร้างสมาธิ (attention span) และ เสริมสร้างทักษะสังคม (social skill)

  • พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา (communication and language skill)

  • ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tension)

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (behavior modification)

  • สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ (therapeutic alliance)

  • ช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว

     สำหรับบุคคลทั่วไป ก็สามารถใช้ประโยชน์จากดนตรีบำบัดได้เช่นกัน ดนตรีช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียด และประกอบในการออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพ ซึ่งสมาคมดนตรีบำบัดชาวอเมริกันถูกตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1998 เปรียบเสมือนองค์การนานาชาติที่มีไว้เพื่อ การให้ความช่วยเหลือด้านดนตรีบำบัด ลักษณะของดนตรีหรือบทเพลงที่ดีนั้น ช่วยในเรื่องการลดระดับความเครียดหรืออาการเจ็บป่วย รู้สึกผ่อนคลาย

อ้างอิงจาก

: ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2564). ดนตรีบำบัด. [Online].