064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

การบำบัดยาเสพติดด้วยการทำอาหาร Cooking therapy

 

การทำอาหารเป็นอีกหนึ่งวิธีในการบำบัดจิต ไม่ใช่แต่กับโรคซึมเศร้าเท่านั้น

ยังสามารถนำมาใช้กับผู้ที่บำบัดยาเสพติด ผู้ที่ต้องการเลิกเหล้า หรือโรคจิตเวชอื่น ๆ ได้

 

 

 

     มาทำความรู้จักกับวิธี “บำบัดด้วยการทำอาหาร” การบำบัดด้วยการทำอาหาร ที่เราเรียกว่า Cooking Therapy หรือ Kitchen Therapy  ซึ่งเป็นการผ่อนคลายที่ไม่ใช่แค่อิ่มท้อง แต่ยังถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาผู้ป่วยทางจิตช่วยให้ "สุขภาพจิตดีขึ้นได้" เพราะ Cooking Therapy หรือการบำบัดด้วยการเข้าครัวทำอาหาร เป็นวิธีที่นอกจากจะช่วยลดความเบื่อ คลายความเครียด สร้างความสนุกสนานแล้ว ในทางการแพทย์และสถาบันดูแลสุขภาพหลายแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะในสังคมตะวันตก ยังยอมรับว่า Cooking Therapy เป็นอีกหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยบำบัดจิตใจให้ดีขึ้นได้อีกด้วย และการทำอาหารกำลังถูกนำมาใช้เป็นวิธีการบำบัดจิตใจอย่างจริงจังมากขึ้น

     ซึ่งการทำอาหารหรือการทำขนมเป็นเครื่องมือในการบำบัด ทั้งโรคซึมเศร้า วิตกกังวล ปัญหายาเสพติด และปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่นๆ อีกมากมาย ลิซ่า บาฮาร์ (Lisa Bahar) กล่าวว่าการเข้าครัวปรุงอาหารเพียงวันละครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงนั้น สามารถเยียวยาให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้จริงๆ

     ตัวอย่างเช่น ด้านสุขภาพจิตชาวอเมริกัน ลิซ่า บาฮาร์ (Lisa Bahar) ให้ข้อคิดเห็นไว้ว่า การทำอาหารนั้น ทั้งหมดทั้งมวลอยู่ตรง ‘ความตั้งใจ’ ในกระบวนการปรุง ไม่ติดว่าต้องเป็นเมนูอะไร เพียงขอให้ตั้งใจเท่านั้นเป็นพอโดยเธอยกตัวอย่างกระบวนการบำบัดจิตใจด้วยการทำอาหาร (Cooking Therapy) อย่างง่ายๆ คือการใช้มีดเล็กๆ ปอกเปลือกผลไม้อย่างพิถีพิถัน เช่น ค่อยๆ ปอกเปลือกแอปเปิลให้ผิวเกลี้ยงสวย ซึ่งอาจใช้สมาธิกว่าการปอกเปลือกแอปเปิลปกติสักหน่อย จิตใจของเราได้จดจ่ออยู่กับคมมีดและผิวแอปเปิลนั้น ก็สามารถทำให้สุขภาพจิตของเราก็ดีขึ้นแล้ว โดยเฉพาะกับผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งมักมีอาการขาดสมาธิ ขาดแรงจูงใจ รวมถึงหมดพลังงานในการทำกิจกรรมใดๆ เพราะระหว่างที่กำลังจดจ่ออยู่กับการทำอาหารและการรับรสนั้นเอง คือช่วงเวลาที่คุณจะได้กลับมาอยู่กับปัจจุบัน ไม่คิดถึงอดีต ไม่พะวงกับอนาคต (อ้างอิง.อรุณวตรี รัตนธารี (2018).บำบัดจิตใจในครัวผ่านการปรุงอาหาร,จาก https://krua.co/food_story) อีกทั้งยังเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และยังสามารถสร้างรายได้ขนาดย่อยได้อีกด้วย

 

การทำอาหารช่วยบำบัดเราให้ดีขึ้นจากยาเสพติดและโรคซึมเศร้าได้อย่างไร ?

 

     ● สมาธิ การจดจ่อกับขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ว่าจะขั้นตอนการศึกษาวิธีการทำ การเลือกและการเตรียมวัตถุดิบ หรือแม้กระทั่งขณะปรุงอาหาร เป็นการดึงความคิดของเราให้อยู่กับปัจจุบัน ช่วยทำให้มีสมาธิ มีสติ และช่วยลดความเครียดได้

     ● สุขภาพดีขึ้น ทำให้เราได้ควบคุมโภชนาการเอง ทำอาหารด้วยตนเองทุกขั้นตอน สามารถเลือกใส่แต่วัตถุที่เราชอบ และปรุงรสในแบบที่เราต้องการ ที่สำคัญเรายังมั่นใจได้เลยว่า สะอาด และมีคุณภาพแน่นอน ตั้งแต่เลือกวัตถุดิบจนไปถึงขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น

     ● ช่วยในเรื่องกายภาพ ช่วยให้ร่างกายของเราได้ขยับเคลื่อนไหวออกแรง ตั้งแต่การใช้หัวไหล่ นิ้วมือ ในการจับมีดหั่น การจับของ ข้อมือในการบิดตะหลิว กระทะ ข้อศอก สามารถช่วยในการรักษาสมดุลของร่างกาย ๆ ได้ด้วย

     ● เกิดความภูมิใจในตัวเอง (self-esteem) เพราะว่ากว่าจะทำอาหารให้ได้แต่ละจานนั้น ต้องผ่านกระบวนการต่างๆหลายขั้นตอน เมื่อทำเสร็จแล้วก็พบว่า เราสามรถทำได้ ถึงแม้ว่าจะไม่อร่อย แต่ก็ถือว่ารสชาติใช้ได้ หรือจะเป็นการทำให้คนในครอบครัวได้รับประทานแล้วได้รับคำชม ก็ทำให้เกิดความมั่นใจในฝีมือของการทำอาหารของตนเองมากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าตนมีค่ามีประโยชน์ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว

     ● การฝึกความคิดสร้างสรรค์ ในการปรับวิธีการปรุงอาหาร แก้ไขปัญหา ปรับเปลี่ยนการใช้วัตถุดิบจากสิ่งที่มีในตู้เย็น ในบ้านหรือวัตถุดิบใกล้ตัว ช่วยฝึกความคิดสร้างสรรค์ในขณะที่ทำอาหาร หรือบางครั้ง รังสรรค์เกิดเมนูใหม่ๆ ขึ้นมา ทำให้รู้สึกอิสระ เพลิดเพลิน ไม่มีข้อจำกัดและยังเป็นการเพิ่ม self-esteem ให้กับตนเอง

     ● สร้างสัมพันธภาพร่วมกัน การทำอาหารกับเพื่อน ครอบครัว หรือแฟน ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารและความร่วมมือ ผ่านการแลกเปลี่ยนเมนูหรือรสชาติที่ชอบและไม่ชอบ ทั้งยังเป็นการฝึกเข้าสังคม การพูดคุยกัน รวมไปถึงวิธีการทำอาหารที่ช่วยกันทำให้ผ่านไปได้ด้วยดีในแต่ละเมนู

     เนื่องจากการทำอาหารต้องใส่ใจในรายละเอียด ต้องใช้ความประณีตในทุกขั้นตอน ทั้งการเลือกวัตถุดิบ การเตรียมอุปกรณ์ รวมไปถึงการคิด การลองเมนูแปลกใหม่ หรือการจัดจานให้สวยงามดูน่ากิน ทุกองค์ประกอบนี้ที่ทำให้เรามีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ช่วยให้เราปล่อยวางเรื่องราวในอดีต หรือกังวลเกี่ยวกับปัญหาในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นได้ นับเป็นอีกหนึ่งวิธีในการบำบัดจิต ไม่ใช่แต่กับโรคซึมเศร้าเท่านั้น ยังสามารถนำมาใช้กับผู้ที่บำบัดยาเสพติด ผู้ที่ต้องการเลิกเหล้า หรือโรคจิตเวชอื่นๆ ก็สามารถบำบัดด้วยกิจกรรมนี้ได้ ช่วยลดความเครียดและความกังวลให้กับจิตใจได้ อีกทั้งยังทำให้เราหันกลับมาใส่ใจกับสุขภาพร่างกายของตัวเองมากขึ้น จะเห็นได้ว่าการทำอาหารได้ซ่อนความสุขและความสนุกสนานเล็กๆ น้อยๆ เอาไว้ในแต่ละกระบวนการในการทำอาหารตั้งแต่ต้นจนจบ

     ซึ่งทาง Day one rehab center เป็นศูนย์บำบัดยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติดกินนอน ก็ได้มีการนำกิจกรรม บำบัดด้วยการทำอาหาร Cooking therapy มาเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมบำบัดยาเสพติด ด้วยการใช้กิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ กิจกรรมต่าง ๆ จะปรับไปตามความเหมาะสมของผู้ร่วมกลุ่ม